รายงานการวิจัยในห้องปฏิบัติการของนักวิจัยสหรัฐของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและวอชิงตัน และล่าสุดงานวิจัยของกลุ่มนักวิจัยที่เป็นความร่วมมือของหลายสถาบันในเดนมาร์ก เยอรมนี และฮ่องกงที่ระบุว่าพืช Artimesia annua (หรือโกฐจุฬาลัมภา ในตำรับยาพระนารายณ์ของไทย) สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสร้ายแรงได้ อาจทำให้ข้อสงสัยและแรงต่อต้านขององค์การอนามัยโลกต่อการส่งเสริมเครื่องดื่มเพื่อต้านโรคระบาดของประธานาธิบดีแห่งมาดากัสการ์ลดลงหรือไม่ ?

เมื่อเดือนเมษายน ปี 2563  ประธานาธิบดีหนุ่มของมาดากัสการ์  Andry Rajoelina  ได้ออกมาสนับสนุนเครื่องดื่มสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า  ‘Coวิดออร์แกนิค’  ซึ่งผลิตโดย Malagasy Institute of Applied Research และอ้างว่าสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและรักษาไวรัสร้ายแรงที่ระบาดไปทั่วโลกได้  โดยขณะนี้ผลิตภัณฑ์นี้นอกเหนือจากเผยแพร่ในมาดากัสการ์แล้ว ยังถูกส่งออกและสั่งซื้อโดยประเทศในแอฟริกากว่า 10 ประเทศ

องค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ออกมาเตือนถึงการใช้ยาที่ไม่ผ่านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเรียกร้องให้กลุ่มประเทศแอฟริกาใช้ยาตัวเดียวกับประเทศอื่นๆ ในการรักษาโรคระบาดร้ายแรงตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ดูเหมือนว่าแถลงการณ์ล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมปีนี้ได้ลดระดับการต่อต้านลง โดยเสนอให้องค์กรควบคุมโรคระบาดของทวีปแอฟริกา (Africa CDC)  เข้าร่วมรีวิวการทดสอบระดับคลินิกในเฟส 3 ที่อยู่ในรูปแบบเครื่องดื่มและผงบดแห้ง รวมทั้งให้คำแนะนำผู้ผลิตในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขั้นต่อไป

บทบาทของมาดากัสการ์ในการส่งเสริมสนับสนุนผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อควบคุมการระบาดของโรคยังคงได้รับการจับตามองต่อไป ทั้งในแง่ผลการศึกษาในระดับคลินิก และการใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง

สถิติการผู้เสียชีวิตของมาดาร์กัสการ์จากโรคระบาดใหม่นี้ต่ำมากเพียง 33.13 คนต่อประชากรล้านคน ทั้งๆที่ฉีดวัคซีนโดสเดียวเพียง 0.7% ของประชากร เมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐและสหราชอาณาจักรที่มีผู้เสียชีวิตเพราะโรคระบาดนี้สูงถึงประมาณ 1,900 คนต่อประชากรล้านคน ทั้งๆที่ฉีดวัคซีนครบสองโดสไปแล้ว 50-60% ของประชากร

ลิงค์
https://www.newscientist.com/article/2243669-no-evidence-madagascar-cure…

https://reliefweb.int/report/madagascar/who-statement-clinical-trial-cvo…