กล่าวได้ว่าระบบเกษตรกรรมเป็นรากฐานสำคัญของระบบอาหารที่มั่นคง  และพันธุกรรมเป็นหัวใจสำคัญของระบบการผลิตการเกษตร ดังนั้นพันธุกรรมและเมล็ดพันธุ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงยั่งยืนด้านอาหาร  เพียงระยะเวลา 30 ปีของการปฏิวัติเขียวในประเทศไทยตลาดเมล็ดพันธุ์ผัก และพืชไร่ต่าง ๆ ถูกครอบครองและผูกขาดโดยบรรษัทการเกษตรขนาดยักษ์ไม่กี่บริษัท ยังเหลือเพียงเมล็ดพันธุ์ข้าวที่บริษัทยังไม่สามารถครอบครองได้ แต่ก็อาจไม่นานนักเนื่องจากบรรษัทอย่างน้อย 2 บริษัทกำลังพยายามผลักดันอย่างหนักให้เกิดการยอมรับการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมซึ่งจะหมายถึงการผูกขาดตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าอนาคตความมั่นคงทางอาหารของประเทศกำลังตกอยู่ในกำมือของบรรษัทข้ามชาติทั้งสัญชาติไทย และชาติอื่นๆ เพียงไม่กี่บรรษัท

กลุ่ม เครือข่ายเกษตรกร และองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทำงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืนได้พัฒนากระบวนการพันธุกรรมของเกษตรกรรายย่อยมามากกว่า 15 ปี  กระบวนการดังกล่าวได้แก่ การค้นคว้า เก็บรักษา การคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์ เฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ข้าว รวมถึงเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม จนถึงปัจจุบันมีกลุ่มเกษตรกรหลายกลุ่มสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และข้าวโพดคุณภาพดี สำหรับตนเองและกลุ่ม ไปจนถึงจำหน่ายในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน

กระบวนการพันธุกรรมของเกษตรกรรายย่อยดังกล่าวได้รับการยอมรับ และสนับสนุนจากภาครัฐน้อยมาก ในทางกลับกันพบว่าการผลิตเมล็ดพันธุ์โดยกลุ่มชาวบ้านถูกจับกุมดำเนินคดีสร้างความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านมาโดยตลอด  

ดังนั้นเครือข่ายเกษตรกรทั่วประเทศรวม 600 คน ที่มาร่วมประชุมกันในเวทีชาวบ้านกับการจัดการความรู้เพื่อความมั่นคงทางอาหาร “พันธุกรรมเพื่อความเป็นไท” ณ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม จึงมีข้อเสนอด้านนโยบายและมาตรการด้านพันธุกรรมเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงด้านอาหาร และอาชีพเกษตรกรรมที่ยั่งยืนของเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น ต่อรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ ดังต่อไปนี้

  1. ให้จัดตั้งคณะกรรมการยกร่างแผนแม่บทความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ โดยให้มีสัดส่วนของเกษตรกรรายย่อยเป็นหลักในคณะกรรมการ
  2. ต้องให้การคุ้มครองสิทธิเกษตรกร และชุมชนในการจัดการทรัพยากรพันธุกรรม และเมล็ดพันธุ์
  • ออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่เกษตรกรในการผลิต แลกเปลี่ยน และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ด้วยตัวเกษตรกรเอง
  • แก้ไขปรับปรุง พรบ.พันธุ์พืช ปี 2518 ให้เอื้อต่อการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรรายย่อย ่และกลุ่มองค์กรเกษตรกร
  1. ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรม ณ ถิ่นที่อยู่
  2. ให้การรับรองกระบวนการคัดเลือก ปรับปรุงและการพัฒนาพันธุ์ ของเกษตรกร 
  3. ยอมรับและให้การสนับสนุนการอนุรักษ์ และพัฒนาพันธุกรรมของเกษตรกร และชุมชนท้องถิ่น
  • พัฒนาพันธุกรรม และการศึกษาวิจัยร่วมกับชุมชน บนพื้นฐานปัญหาและความต้องการของเกษตรกร และชุมชน
  • ให้การสนับสนุนด้านข้อมูล เทคโนโลยี แก่กลุ่มเกษตรกรและชุมชน
  • ให้การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พันธุกรรมชุมชนโดยความริเริ่มของชุมชนเอง
  • สนับสนุนการขยายความรู้ โดยเฉพาะด้านเมล็ดพันธุ์ที่ปรับปรุงและคัดเลือกโดยเกษตรกรที่มีความสอดคล้องเหมาะสมกับพื้นที่และระบบนิเวศ
  1. จัดตั้งกองทุนเมล็ดพันธุ์ชุมชนเพื่อสนับสนุนกระบวนการพันธุกรรมของเกษตรกรรายย่อย
  2. กลไกของรัฐไม่ว่าจะเป็นกรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว ศูนย์วิจัยพืชไร่ (ข้าวโพด ข้าวฟ่าง) ศูนย์ขยายพันธุ์ข้าวทั้ง 23 ศูนย์ ควรทำงานร่วมมือ และสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น
  3. ให้การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนเมล็ดพันธุ์
  4. องค์กรชุมชน และองค์กรเกษตรกรจะเข้าไปใช้ประโยชน์ศูนย์พันธุกรรมที่รัฐจัดตั้งขึ้นทุกระดับ

เสนอโดยเครือข่ายอิสรภาพทางพันธุกรรม

 (องค์กรชุมชน และองค์กรเกษตรกรและองค์กรพัฒนาเอกชน 37 องค์กร)  

  1. โครงการฮักแพง เบิงแญง คนสารคาม ชุดประเด็นเกษตรกรรมยั่งยืน
  2. มูลนิธิฮักเมืองน่าน
  3. เครือข่ายเกษตรทางเลือก ขอนแก่นใต้-โคราชเหนือ
  4. เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนภาคเหนือ
  5. เครือข่ายองค์กรชาวบ้านป่าดงลาน
  6. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
  7. เครือข่ายเกษตรทางเลือกยโสธร
  8. สวนลุงโชค จ.นครราชสีมา
  9. ชมรมรักษ์ธรรมชาติ
  10. เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคเหนือ (เชียงราย, แพร่,น่าน, แม่ฮ่องสอน)
  11. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลสร้างมิ่ง
  12. กลุ่มอนุรักษ์พันธุกรรมพิษณุโลก / Seed exchange
  13. เครือข่ายเกษตรทางเลือก กาฬสินธุ์-นครพนม
  14. เครือข่ายเกษตรทางเลือก ภาคอิสาน
  15. สมาพันธุ์เกษตรอินทรีย์สุรินทร์
  16. มูลนิธิการจัดการความรู้ และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา นครสวรรค์
  17. เครือข่ายเกษตรทางเลือกทุ่งกุลา
  18. มูลนิธิข้าวขวัญ
  19. สมาคมคนทาม (เขื่อนราศี)
  20. เครือข่ายพวกกัน (ภาคกลาง-ภาคตะวันตก)
  21. สมาคมอีสานวิถี อำเภอเสลภูมิ
  22. เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้
  23. ชุมชนบุญนิยมร้อยเอ็ดอโศก
  24. เครือข่ายเกษตรทางเลือกฉะเชิงเทรา
  25. กลุ่มพัฒนาอาชีพเพื่อทางเลือก บ้านดงดิบ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด
  26. สถาบันชุมชนเกษตรกรรมธรรมชาติ สุรินทร์
  27. อีสานมั่นยืน (กลุ่มอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้านอุบล)
  28. สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน ISAC
  29. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
  30. โครงการสวนผักคนเมือง
  31. สมาคมเครือข่ายเกษตรกรไทย
  32. กลุ่มพันธุกรรม จ.อุทัยธานี
  33. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
  34. เครือข่ายเกษตรทางเลือก ประเทศไทย
  35. ศูนย์เรียนรู้โจ้โก้ จังหวัดน่าน
  36. มูลนิธิชีววิถี
  37. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)