พวกเรา ?สมานฉันท์ประชาชนอาเซียนเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม? มารวมตัวกันวันนี้ที่กรุงเทพฯ เพื่อที่จะประกาศจุดยืนต่อความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ ความขัดแย้งเรื่องทรัพยากรที่ถูกขับเคลื่อนโดยภาคธุรกิจหน้าเลือดและการ บริโภคนิยมแบบทาส อันส่งผลให้เกิดระบบควบคุมเบ็ดเสร็จที่จะให้ผลกำไรทางธุรกิจสำคัญกว่าผล ประโยชน์สาธารณะ

ผล พวงสำคัญประการหนึ่งจากความขัดแย้งนี้คือ การเกิดภาวะโลกร้อนซึ่งก่อผลกระทบต่อโลกอย่างหนักหน่วงเหนือความคาดหมาย ทั้งการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การถูกบีบให้อพยพเพื่อเอาตัวรอดจากภัยแล้งและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ของประชาชนจำนวนมหาศาลในหลายพื้นที่ ไม่นับการทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจล้มละลาย คนตกงานและผลกระทบต่อการดำรงชีวิตปกติของประชาชน ซึ่งล้วนเกิดจากอาการป่วยไข้ของโลกจากความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่เรา กำลังเผชิญกันปัจจุบันอันมีผลมหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก

หาก ไม่มีการเรียกร้องถึงความเป็นธรรมและความเท่าเทียมต่อความขัดแย้งนี้ เราก็จะยังคงต้องประสบกับชะตากรรมที่ย่ำแย่ยิ่งขึ้นตามลำดับ ทั้งด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับโลกและการทำลายระบบนิเวศน์อันมีค่า

พวกเรา ?สมานฉันท์ประชาชนอาเซียนเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม? เชื่อว่าการแก้วิกฤตโลกครั้งนี้ต้องการการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมืองโลก เพื่อสร้างทางออก หาทางป้องกันและลดผลกระทบมหันตภัยจากวิบัติภัยโลกร้อนครั้งนี้ และส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิรูปดังกล่าวคือ การเรียกร้องให้ภาครัฐลงมือสร้างความเป็นธรรมในการลดโลกร้อน

นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องรวมตัวกันที่กรุงเทพวันนี้

พวกเรา ?สมานฉันท์ประชาชนอาเซียนเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม? เป็นการรวมตัวกันของภาคประชาสังคมอาเซียน รวมถึงชุมชนรากหญ้า กลุ่มคนชายขอบที่เป็นเหยื่อโลกร้อน อาทิกลุ่มชนเผ่า ชาวประมง ชาวนา ชาวเขา แรงงาน ผู้อพยพจากวิกฤตโลกร้อน กลุ่มเยาวชน และคนในเมือง

พวกเราตัดสินใจที่จะจัดการเดินขบวนใหญ่ตามท้องถนนในวันที่ 5 ตุลาคม ที่จะถึงนี้เพื่อที่จะประกาศข้อเรียกร้องของเราดังนี้

1. ประเทศพัฒนาแล้วต้องชดใช้เต็มจำนวนต่อ ?หนี้นิเวศน์? ที่พวกเขาก่อขึ้นและส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนา โดยการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินอย่างไม่มีเงื่อนไขและเทคโนโลยีที่เหมาะ สมสำหรับการจัดการรับมือและลดโลกร้อน รวมถึงการขจัดความยุ่งยากและอำนวยความสะดวกในการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นโดย ไม่ต้องกำลังเรื่องทรัพย์สินทางปัญหาที่มีอยู่

2. ประเทศพัฒนาแล้วต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นธรรมและดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศตนเองทันที

3. ประเทศกำลังพัฒนาจะดำเนินการลดโลกร้อนในฐานะมาตรการเสริม บนพื้นฐานการมีสิทธิที่จะพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชากรตัว เองอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความเป็นธรรม เป็นประชาธิปไตยและไม่ใช่อยู่ในวงจรอาณานิคมสมัยใหม่

4. การให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีต้องไม่มีการกำหนดประเภทเทคโนโลยีเฉพาะเจาะจง ที่สำคัญต้องเป็นเทคโนโลยีที่ไม่นำไปสู่ทิศทางที่ผิดและไม่ยั่งยืน อาทิ
– การละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนเผ่ากลุ่มผุ้หญิงและกลุ่มคนชายขอบอื่นๆ
– การทำลายสมดุลระบบนิเวศน์ หรือการนำไปรวมเป็นเครดิตก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องลด
– การ เปิดโอกาสให้รัฐบาลประเทศพัฒนาแล้วใช้กลไกความช่วยเหลือไปเป็นเครื่องมือทำ กำไรให้แก่ภาคเอกชนของตน หรือเครื่องมือการครอบงำการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชาติกำลังพัฒนา
– ยุติการเมือง การดำเนินการและโครงการภายใต้ IFIs ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการแก้ปัญหาโลกร้อน รวมถึงการยุติบทบาทของธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาในภูมิภาคต่าง ๆ ที่มักจะถือโอกาสเข้ามาจัดการปัญหาระดับนานาชาติอย่างวิกฤตโลกร้อน
– ยก เลิกหนี้ที่ไม่เป็นธรรมที่ประเทศกำลังพัฒนาเรียกร้อง เพื่อใช้เป็นก้าวแรกในการช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านั้นสามารถรับมือกับ วิกฤตโลกร้อน
– ยุติ ข้อตกลงการค้าและข้อตกลงที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปสู่การทำลายระบบสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมท้องถิ่น ที่ขัดแย้งกับหลักการลดโลกร้อนอย่างเป็นธรรม รวมถึงข้อตกลงที่จะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากโลกร้อนมากขึ้น
– ยอมรับสิทธิพื้นฐานชนกลุ่มชนเผ่า แรงงาน ชาวนา ชาวเล ชาวเขา ผู้หญิง เยาวชนและกลุ่มคนชายขอบ ในกระบวนการแก้ปัญหาวิกฤตโลกร้อน

ทั้งหมดเพื่อให้พวกเรา ประชากรโลก ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาสามารถร่วมกันฝ่าฟันวิกฤตโลกร้อนร่วมกันอย่างมีประสิทธิผล