กรุงเทพฯ, 9 ธันวาคม 2558 – เครือข่ายภาคประชาชนและผู้ประกอบการภาคเกษตรและอาหาร 115 เครือข่ายร่วมเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิอธิปไตย-ความมั่นคงทางอาหาร และทางเลือกของผู้บริโภคที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและศาลากลางจังหวัดในกว่า 40 จังหวัดทั่วประเทศ

เครือข่ายฯและประชาชน ได้ร่วมกันทำกิจกรรมรณรงค์เชิงสัญลักษณ์ด้วยการนำหุ่นไล่กาจำนวน 77 ตัว แทนจำนวนจังหวัดในประเทศไทย และส่งข้อความ “ค้าน พ.ร.บ.จีเอ็มโอ” “No GMO” และ “คนไทยไม่เอาจีเอ็มโอ” ให้กับคณะรัฐมนตรีพร้อมกับยื่นหนังสือต่อคณะรัฐบาลให้ชะลอร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ…. และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงร่างกฎหมายที่มีตัวแทนของภาคประชาชน และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ

ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และถูกคัดค้านจากภาคประชาชน กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ องค์กรภาคประชาสังคม เกษตรกร และภาครัฐประกอบด้วยกระทรวงพาณิชย์และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่ออธิปไตย-ความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยทางชีวภาพ และการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย

นายวัลลภ พิชญ์พงศา รองกรรมการผู้จัดการบริษัทนครหลวงค้าข้าวจำกัด กล่าวว่า “การอนุญาตให้มีการนำพืชจีเอ็มโอออกสู่สิ่งแวดล้อมจะเกิดผลกระทบในวงกว้าง เช่น ผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ซื้อในต่างประเทศ จากกรณีการปนเปื้อนของข้าวจีเอ็มโอกับข้าวทั่วไปของสหรัฐอเมริกาปี 2549 แสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาไม่สามารถป้องกันปัญหาการปนเปื้อนระหว่างพืชทั่วไปและและพืชจีเอ็มโอได้ ผลก็คือทำให้สหรัฐฯสูญเสียตลาดสหภาพยุโรปไป และผู้ซื้อจากสหภาพยุโรปหันมาซื้อข้าวจากประเทศไทยแทนข้าวจากอเมริกา (1)”

นายวัชรพล แดงสุภา ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า “ร่างพ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพฉบับนี้กลับคุ้มครองผลประโยชน์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติแทนที่จะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและผลประโยชน์ของเกษตรกรไทย โดยเจตนาที่จะไม่นำหลักการป้องกันเอาไว้ก่อน การคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพมาบังคับใช้”

“วันนี้เรานำหุ่นไล่กามาเป็นสัญลักษณ์เพื่อขับไล่ พ.ร.บ. ที่มีปัญหานี้ออกไป เราจะต้องไม่ลืมว่าครั้งหนึ่งได้เกิดการหลุดรอดของมะละกอจีเอ็มจากแปลงทดลองผ่านการจำหน่ายจ่ายแจกเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าจีเอ็มโอให้กับประชาชนทั่วไปซึ่งผิดกฎหมายและสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก (2) เพื่อให้เราไม่หวนไปสู่ความผิดพลาดอีก พ.ร.บ. นี้ควรถูกร่างขึ้นใหม่ให้มีความรัดกุมโดยคำนึงถึงหลักปลอดภัยไว้ก่อน กำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนในกรณีที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น นำข้อท้วงติงจากหน่วยงานสำคัญของรัฐทั้งสองหน่วยงาน และข้อเสนอจากเครือข่ายผ้ประกอบการและภาคประชาชน เพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง”

เครือข่ายองค์กรประชาชนยังได้ทำจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี โดยได้วิเคราะห์ให้เห็นปัญหาความไม่ชอบธรรม และข้อกพร่องต่างๆของร่างพ.รบ. และเสนอต่อรัฐบาลให้พิจารณา 2 ข้อ ดังนี้

  1. ขอให้ชะลอการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเอาไว้ก่อน โดยให้แต่งตั้งตัวแทนของกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากจีเอ็มโอ ตัวแทนจากเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรสาธารณประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและเกษตรอินทรีย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายที่ได้ติดตามประเด็นความปลอดภัยทางชีวภาพ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการปรับปรุงร่างกฎหมายอย่างน้อยกึ่งหนึ่งในคณะกรรมการปรับปรุงร่างฯ
  2. นำหลักการป้องกันไว้ก่อน การคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตามพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ และพิธีสารเสริมนาโงยา-กัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการรับผิดและชดเชยความเสียหาย มาเป็นหลักการสำคัญในการปรับปรุงร่างกฎหมาย และให้นำความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งปรับปรุงเนื้อหาที่บกพร่อง (หัวข้อ 3 ด้านบน) ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี(BIOTHAI) หนึ่งในองค์กรที่ร่วมเคลื่อนไหวครั้งนี้ชี้ว่า “นี่เป็นการเคลื่อนไหวต่อต้านในประเด็นที่เกี่ยวกับพืชจีเอ็มโอครั้งใหญ่ในสังคมไทย ผู้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวประกอบด้วยสมาคมการค้าเกษตรและอาหาร กลุ่มประชาชนในจังหวัดต่างๆมากกว่า 46 จังหวัดทั่วประเทศ และองค์กรภาคประชาสังคม รวมกันมากกว่า 122 องค์กร ตลอดระยะเวลาเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมา ไม่เคยมีรัฐบาลใดที่ผลักดันนโยบายและกฎหมายเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับจีเอ็มโอมากเท่าที่รัฐบาลนี้กำลังดำเนินการ พวกเราเชื่อว่าหากรัฐบาลเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้อง การเคลื่อนไหวจะขยายวงออกไปกว้างขวางมากยิ่งไปกว่านี้อีก ซึ่งรัฐบาลเองที่จะต้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้น”

กิจกรรมเคลื่อนไหวในวันนี้ยังจัดขึ้นในอีกกว่า 46 จังหวัด ได้แก่
1 จังหวัดขอนแก่น
2 จังหวัดมหาสารคาม
3 จังหวัดยโสธร
4 จังหวัดร้อยเอ็ด
5 จังหวัดสุรินทร์
6 จังหวัดอุดรธานี
7 จังหวัดอุบลราชธานี
8 จังหวัดเชียงราย
9 จังหวัดเชียงใหม่
10 จังหวัดนครสวรรค์
11 จังหวัดน่าน
12 จังหวัดพะเยา
13 จังหวัดแม่ฮ่องสอน
14 จังหวัดลำปาง
15 จังหวัดลำพูน
16 จังหวัดอุตรดิตถ์
17 จังหวัดกระบี่
18 จังหวัดสงขลา
19 จังหวัดพัทลุง
20 จังหวัดปัตตานี
21 จังหวัดตรัง
22 จังหวัดสตูล
23 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
24 จังหวัดภูเก็ต
25 จังหวัดพังงา
26 จังหวัดนครศรีธรรมราช
27 กรุงเทพมหานคร
28 จังหวัดกาญจนบุรี
29 จังหวัดจันทบุรี
30 จังหวัดฉะเชิงเทรา
31 จังหวัดชลบุรี
32 จังหวัดตราด
33 จังหวัดนครนายก
34 จังหวัดนครปฐม
35 จังหวัดปทุมธานี
36 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
37 จังหวัดปราจีนบุรี
38 จังหวัดเพชรบุรี
39 จังหวัดระยอง
40 จังหวัดสมุทรสงคราม
41 จังหวัดสระแก้ว
42 จังหวัดสระบุรี
43 จังหวัดสิงห์บุรี
44 จังหวัดสุพรรณบุรี
45 จังหวัดอ่างทอง
46 จังหวัดอุทัยธานี

หมายเหตุ
(1) รายงานอุตสาหกรรมข้าวไทยตกอยู่ในอันตราย:http://www.greenpeace.org/…/…/PageFiles/164310/Thai-Rice.pdf
(2) รายงานการปนเปื้อนมะละกอจีเอ็มโอในประเทศไทย:http://www.greenpeace.org/…/2/ge-papaya-contamination-th.pdf
(3) พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นพิธีสารภายใต้อนุสัญญาว่า ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ:https://www.cbd.int/doc/legal/cartagena-protocol-en.pdf

หนังสือยื่นต่อนายกรัฐมนตรีวันที่ 9 ธันวาคม 2558เรื่อง ขอให้ชะลอ และแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
สิ่งที่ส่งมาด้วย รายชื่อของเครือข่ายและองค์กรที่ร่วมลงนามในจดหมาย
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ…. เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 นั้น องค์กรและเครือข่ายด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรและอาหารเครือข่ายผู้บริโภค กลุ่มองค์กรประชาชนในจังหวัดต่างๆ และองค์กรภาคประชาสังคม เห็นว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค อย่างร้ายแรง เนื่องจากมิได้นำเอาหลักการป้องกันไว้ก่อน และหลักการผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมตามพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพซึ่งเป็นหลักการสากลมาบัญญัติไว้จากการวิเคราะห์โดยนักวิชาการด้านกฎหมายจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และองค์กรภาคประชาสังคมที่ติดตามปัญหาเรื่องสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม(จีเอ็มโอ)มามากกว่า 20 ปีเห็นว่าร่างกฎหมายนี้ขาดความชอบธรรม ขาดหลักการสำคัญ และมีข้อบกพร่องอย่างสำคัญดังต่อไปนี้1. กระบวนการร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ดำเนินการโดยกลุ่มสนับสนุนจีเอ็มโอ ซึ่งประกอบไปด้วย หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่วิจัยเรื่องจีเอ็มโอและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบรรษัทข้ามชาติที่ได้ประโยชน์จากจีเอ็มโอ โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ กฎหมายนี้ถูกตีกลับจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ อีกทั้งประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบไม่มีโอกาสได้เห็นเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.นี้ เพราะเพิ่งมาเผยแพร่หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว2. การคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพอันเนื่องมาจากจีเอ็มโอนั้น มีพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ(ซึ่งประเทศไทยและประเทศต่างๆรวม 196 ประเทศได้ให้สัตยาบัน) แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้กลับมิได้นำเอาหลักการป้องกันเอาไว้ก่อน และการคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมของพิธีสารมาใช้แต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามกลับไปรับเอาแนวทางของสหรัฐอเมริกาในองค์การค้าโลกที่ให้ใช้การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดก่อนเท่านั้นมาใช้เกี่ยวกับจีเอ็มโอ ไม่สอดคล้องกับหลักการสากล เพราะแนวทางตามกฎหมายนี้อาจต้องใช้เวลานานหลายปีจึงจะสามารถพิสูจน์ได้ซึ่งไม่ทันการณ์ต่อการคุ้มครองสุขภาพและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและเศรษฐกิจสังคม3. เนื้อหาในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีความบกพร่องในสาระสำคัญหลายประการเช่น
3.1 เปิดให้มีการทดลองและปลูกพืชจีเอ็มโอได้อย่างเสรียกเว้นที่ประกาศห้ามเท่านั้น
3.2 เปิดช่องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับจีเอ็มโอไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายในกรณีอยู่ระหว่างการทดลองโดยอ้าง “เหตุสุดวิสัย”
3.3 ไม่ระบุความรับผิดชอบในกรณีที่จีเอ็มโอซึ่งปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมแล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรอินทรีย์ เกษตรทั่วไป ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
3.4 ไม่กำหนดให้จีเอ็มโอที่ทำการทดลองในสภาพควบคุมและจีเอ็มโอในภาคสนามต้องทำการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นแนวปฏิบัติที่ถอยหลังมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 ธันวาคม 2550
3.5 ให้อำนาจ “หน่วยงานผู้รับผิดชอบ” ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรม หรือสถาบัน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่วิจัย/ส่งเสริมเทคโนโลยีจีเอ็มโอเป็นผู้ตัดสินใจ “ปลดปล่อยจีเอ็มโอสู่สิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นการอนุญาตให้มีการปลูกเชิงพาณิชย์ ทั้งๆที่การดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงทางเศรษฐกิจสังคม และด้านอื่นๆ ขาดการถ่วงดุล บทบาททับซ้อนและอาจนำไปสู่ผลประโยชน์ทับซ้อนในกรณีที่หน่วยงานดังกล่าวร่วมดำเนินการวิจัยกับธุรกิจเอกชน
3.6 คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ และคณะกรรมการชำนาญการ ภายใต้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มิได้กำหนดให้ภาคประชาชนและผู้ประกอบการมีส่วนร่วมอย่างที่ควรจะเป็น และไม่สอดคล้องกับหลักการระหว่างประเทศ4. หน่วยงานสำคัญของประเทศ 2 หน่วยงานได้ท้วงติงต่อร่างพ.ร.บ.นี้ว่าอาจทำให้เกิดผลกระทบดังนี้
4.1 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า อาจส่งผลกระทบโดยตรงกับหลายภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรอินทรีย์ เป็นการจำกัดตลาดของไทยให้แคบลง และยังต้องแข่งกับผู้ผลิตที่มีเทคโนโลยีสูง เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประเทศและเกษตรกรในทุกมิติ
4.2 กระทรวงพาณิชย์เห็นว่า ที่ผ่านมามีการอนุญาตให้นำเข้ามาทดลองเป็นรายกรณี แต่ก็ยังมีการปนเปื้อนเข้าสู่ระบบนิเวศ ซึ่งจะกระทบต่ออาหาร พืชผลทางการเกษตร ความหลากหลายทางชีวภาพและจะสร้างความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ นอกจากนี้ยังกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยและภาพลักษณ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันไทยมีนโยบายยกระดับสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเครือข่ายของประชาชนและผู้ประกอบการและองค์กรต่างๆที่ร่วมลงนาม จึงขอเสนอต่อ ฯพณฯ ได้พิจารณาชะลอการส่งร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์ และสามารถปกป้องสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ สุขภาพ และผู้บริโภค ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังต่อไปนี้
1. ขอให้ชะลอการเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเอาไว้ก่อน โดยให้แต่งตั้งตัวแทนของกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากจีเอ็มโอ ตัวแทนจากเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรสาธารณประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและเกษตรอินทรีย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายที่ได้ติดตามประเด็นความปลอดภัยทางชีวภาพ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการปรับปรุงร่างกฎหมายอย่างน้อยกึ่งหนึ่งในคณะกรรมการปรับปรุงร่างฯ
2. นำหลักการป้องกันไว้ก่อน การคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตามพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ และพิธีสารเสริมนาโงยา-กัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการรับผิดและชดเชยความเสียหาย มาเป็นหลักการสำคัญในการปรับปรุงร่างกฎหมาย และให้นำความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งปรับปรุงเนื้อหาที่บกพร่อง (หัวข้อ 3 ด้านบน) ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
เครือข่ายของประชาชนและผู้ประกอบการและองค์กรต่างๆที่ร่วมลงนามเห็นว่าร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีนั้นไม่สามารถควบคุมผลกระทบของจีเอ็มโอที่มีต่ออธิปไตยและความมั่นคงทางอาหารของประเทศ อีกทั้งขัดต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งสู่ความมั่นคง และยั่งยืนโดยประการทั้งปวง จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา  ขอแสดงความนับถือ
(นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ)
ลงนามในฐานะตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนและผู้ประกอบการเกษตรและอาหาร 115+ องค์กร
ภาคธุรกิจ
1 กลุ่มผู้ส่งออกข้าว
2 กลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน
3 สมาคมการค้ามันสำปะหลัง
4 สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย
5 สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย
6 สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
องค์กรสาธารณะประโยชน์
7 กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
8 กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน
9 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
10 เครือข่ายเกษตรอินทรีย์
11 เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร
12 เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เอดส์ประเทศไทย
13 เครือข่ายผู้บริโภค
14 เครือข่ายผู้ประกอบการเกษตรและอาหารที่ได้รับผลกระทบ
15 เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจแอลกอฮอล์
16 เครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพ
17 เครือข่ายสลัม 4 ภาค
18 มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
19 มูลนิธิข้าวขวัญ
20 มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
21 มูลนิธิชีววิถี
22 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
23 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
24 มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
25 มูลนิธิฮักเมืองน่าน
26 สถาบันชุมชนเกษตรยั่งยืน (ISAC)
องค์กรท้องถิ่น
27 Heart Core Organic
28 กลุ่มเกษตรกรทำนาน้ำแพร่
29 กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
30 กลุ่มข้าวโพดหวาน จังหวัดกาญจนบุรี
31 กลุ่มคนกล้าคืนถิ่น จังหวัดลำพูน
32 กลุ่มเครือข่ายกลุ่มอาเซียนอาศรมสตูล
33 กลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ลุ่มน้ำลี้
34 กลุ่มชาวสวนอินทรีย์ทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
35 กลุ่มพัฒนาอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน จังหวัดอุบลราชธานี
36 กลุ่มมะพร้าวอินทรีย์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
37 กลุ่มเยาวชนบ้านอาสาเพื่อเด็กและเยาวชน
38 กลุ่มเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
39 กลุ่มวิชชาลัยรวงข้าว
40 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน
41 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านโนนกลาง
42 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนคลองโยง – ลาดตากฟ้า จังหวัดนครปฐม
43 กลุ่มสื่อใสวัยทีน
44 กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดสตูล
45 เกษตรอินทรีย์วิถีไทย
46 คณะทำงานสมัชชาสุขภาพ จังหวัดลำพูน
47 เครือข่าย 304 กินได้
48 เครือข่าย เกษตรอินทรีย์ ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
49 เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์อ่าวปัตตานี
50 เครือข่ายกินดีมีสุข
51 เครือข่ายเกษตรกร ตำบลดงขี้เหล็ก และตำบลบ้านพระ จังหวัดปราจีนบุรี
52 เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน จังหวัดลำพูน
53 เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จังหวัดอุบลราชธานี
54 เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
55 เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ตำบลนนทรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
56 เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ตำบลบางเดชะ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
57 เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ตำบลบ้านทาม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
58 เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ตำบลหนองแก้ว อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
59 เครือข่ายชาติพันธุ์ จังหวัดลำพูน
60 เครือข่ายชุมชนชายฝั่งอ่าวพังงา
61 เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
62 เครือข่ายชุมชนศรัทธา-กัมปงตักวา
63 เครือข่ายตลาดนัดสีเขียว กินสบายใจ
64 เครือข่ายทรัพยากรชายแดนใต้
65 เครือข่ายทั้ง 9 กลุ่ม ลุ่มน้ำคลองท่อม จังหวัดกระบี่
66 เครือข่ายประมงพื้นบ้านสตูล
67 เครือข่ายป่า ทะเล เพื่อชีวิต
68 เครือข่ายป่าชุมชน จังหวัดลำพูน
69 เครือข่ายป่าชุมชนลุ่มน้ำลี้ตอนบน
70 เครือข่ายผู้ติดเชื้อจังหวัดลำพูน
71 เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนา
72 เครือข่ายพลเมืองสงขลา
73 เครือข่ายเยาวชนฟ้าใส
74 เครือข่ายลุ่มน้ำจาง
75 เครือข่ายลุ่มน้ำแม่ทา จังหวัดลำพูน
76 เครือข่ายวิทยุชุมชน จังหวัดลำพูน
77 เครือข่ายสวัสดิการชุมชน จังหวัดลำพูน
78 เครือข่ายสืบสานภูมิปัญญา
79 เครือข่ายองค์กรรักษ์ป่าต้นน้ำบ้านตะแพน
80 โครงการความมั่นคงทางด้านอาหารชุมชนชายฝั่งอ่าวพังงา
81 โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
82 โครงการสวนผักคนเมือง
83 โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูคาบสมุทรสทิงพระ
84 ชมรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
85 ชมรมเกษตรอินทรีย์ประเทศไทย
86 ชมรมชาวนา อำเภอบ้านสร้าง 7 ตำบล จังหวัดปราจีนบุรี
87 ชมรมชาวไร่มันสำปะหลัง จังหวัดปราจีนบุรี 6 อำเภอ
88 มูลนิธิจัดการความรู้เครือข่ายโรงเรียนชาวนา จังหวัดนครสวรรค์
89 มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี
90 มูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต
91 มูลนิธิสวนพุทธธรรมลำพูน
92 มูลนิธิสื่อสร้างสุข
93 วิสาหกิจกลุ่มพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชตำบลเขื่อนผาก
94 วิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนนิค
95 ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้
96 ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรพื้นบ้านบ้านสันตับเต่า
97 ศูนย์เกษตรกรรมธรรมชาติสร้อยเดือน-แสงจันทร์ อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
98 ศูนย์ประสานงานความร่วมมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล้าบุหรี่และอุบัติเหตุ จังหวัดลำพูน
99 ศูนย์ประสานงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคประชาสังคม จังหวัดลำพูน
100 ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดลำพูน
101 ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน (ศสอ.)
102 ศูนย์สหวิถีเพื่อชุมชนยั่งยืน จังหวัดลำพูน (โขง-สาละวิน)
103 สถาบันวิจัยหริภุญชัย
104 สภาเด็กและเยาวชน จังหวัดลำพูน
105 สภาทรัพยากรพันธุกรรมพื้นบ้านภาคใต้
106 สภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดปราจีนบุรี 64 ตำบล
107 สมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี
108 สมาคมจิตอาสาพัฒนาปราจิณ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
109 สมาคมชาวนาเกษตรอินทรีย์วิถีนิเวศเมืองลุง
110 สมาคมชีวิตดี
111 สมาคมแพทย์แผนไทย จังหวัดลำพูน
112 สมาคมภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดลำพูน
113 สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี
114 สมาคมเสริมสร้างสิทธิชุมชน
115 สหกรณ์เกษตรอินทรีย์กองทุนข้าว จังหวัดสุรินทร์
116 สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน. ลำพูน)
117 หน่วยพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่น
118 องค์กรปกป้องพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย (อปพท.)
119 โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมสู่ชุมชนบ้านเกิด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
120 ชมรมผู้บริโภคอาหารอินทรีย มหาวิทยาลัยแม่โจ้
121 อาสาสมัครนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
122 สภาเกษตรกรแห่งชาติ
123 เครือข่ายฅนกินข้าวเกื้อกูลชาวนา

ที่มา: BIOTHAI Facebook