หลังคณะกรรมการวัตถุอันตรายลงมติแบน 3 สารพิษที่มีความเสี่ยงสูง 3 ชนิด ด้วยคะแนนท่วมท้น สื่อต่างประเทศพร้อมใจกันรายงานข่าวนี้อย่างพร้อมเพรียง ไม่ว่าจะเป็นนิวยอร์คไทม์ วอชิงตันโพสต์ เอพี เอเอฟพี ฟร้องซ์ 24 สำนักข่าวเบอร์นาม่า ฯลฯ

สำนักข่าวเอพีอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของอนุทิน ชาญวีรกูล ที่กล่าวถึงการลาออกหากการแบนไม่ประสบผลสำเร็จ และคำให้สัมภาษณ์ของปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานไทยแพนที่ระบุว่า การแบนสารพิษครั้งนี้เป็นผลมาจากการสนับสนุนที่ฝ่ายการเมืองรู้ร้อนรู้หนาวต่อปัญหาของประชาชน

สำนักข่าวเบอร์นามา ให้รายละเอียดการแบนไปจนถึงผลการโหวตแบนในแต่ละสารอันตราย และการคัดค้านจากเกษตรกรบางกลุ่มที่อ้างว่าการแบนจะเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ

รายงานข่าวของฟร้องซ์24 ให้รายละเอียดข่าวอย่างครบถ้วน โดยให้ภาพกว้างของการแบนพาราควอต และไกลโฟเซต โดยสารตัวหลังขณะนี้ได้ถูกจำกัดการใช้แล้วในหลายประเทศ โดยฝรั่งเศสจะเริ่มแบนสารนี้ในปี 2023 โดยตบท้ายว่า “Thai-PAN ซึ่งได้รณรงค์เรื่องนี้มาอย่างยาวนานขอบคุณรัฐบาล*ที่แบนทั้ง 3 สารพิษ แต่เรียกร้องให้รัฐและทุกฝ่ายต้องให้การสนับสนุนเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนด้วย”

เราควรใช้การเริ่มต้นนี้ เป็นจุดเปลี่ยนแปลงประเทศ จากประเทศที่พึ่งพาการส่งออกวัตถุดิบราคาถูก และพืชผักไม่ปลอดภัยไปสู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืนในอนาคต

https://www.washingtonpost.com/world/asia_pacific/thailand-bans-use-of-paraquat-and-other-toxic-farm-chemicals/2019/10/22/1f41e66c-f4c1-11e9-b2d2-1f37c9d82dbb_story.html

https://apnews.com/27ba8bb2b1474626b3083a4082679305

https://www.france24.com/en/20191022-thailand-to-ban-glyphosate-and-other-high-profile-pesticides

https://www.nytimes.com/aponline/2019/10/22/world/asia/ap-as-thailand-chemical-ban.html

https://www.afp.com/en/news/826/thailand-ban-glyphosate-and-other-high-profile-pesticides-doc-1lm6us2

http://bernama.com/en/news.php?id=1781986


 เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร ขอขอบคุณ
1)คณะกรรมการวัตถุอันตรายที่ลงมติแบนพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่คำนึงถึงสุขภาพของเกษตรกรและประชาชนเป็นสำคัญ
2)รัฐมนตรีทุกกระทรวงที่กำกับหน่วยงานที่เป็นคณะกรรมการวัตถุอันตราย รวมทั้งพรรคฝ่ายค้านและทุกพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ที่ผลักดันให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรมและมีมติแบนสารพิษทั้ง 3 ชนิดนี้
3) การเคลื่อนไหวขององค์กรภาคประชาชนในระดับต่างๆ ที่ร่วมขับเคลื่อนอย่างจริงจังและต่อเนื่องการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นได้ เนื่องจากกระบวนการทางสังคมและการเมืองที่รู้ร้อนรู้หนาวต่อปัญหาของประชาชน อย่างไรก็ตามรัฐบาลต้องมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเกษตรกรให้สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่วิถีเกษตรกรรมที่ปลอดภัยและยั่งยืน โดยที่เกษตรกรต้องไม่ใช่ผู้รับภาระต้นทุนจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวทั้งนี้การแบนสารพิษที่มีความเสี่ยงสูง 3 ชนิดนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้ระบบเกษตรกรรมและระบบอาหารของประเทศมุ่งไปสู่ทิศทางที่ยั่งยืน22 ตุลาคม 2562
เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร

ที่มา: BIOTHAI Facebook