วันนี้( 7 ก.พ.) นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี (BioThai) แถลงภายหลังการฟ้องต่อศาลปกครองว่า การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตรายตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวัน 9 พฤศจิกายน 2553 ขัดกับเจตนารมณ์ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2551 อย่างชัดแจ้ง เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งจำนวน 4 ใน 10 คนไม่ได้มีคุณสมบัติและที่มาตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีจำนวน 2 คนถูกแต่งตั้งจากสมาคมวิชาชีพที่มิได้เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ด้านการคุ้ม ครองสุขภาพอนามัย และองค์การสาธารณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และยิ่งไปกว่านั้นยังมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 2 คนซึ่งมาจากบริษัทธุรกิจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชรายใหญ่ และตัวแทนจากกลุ่มธุรกิจเคมี จากสภาหอการค้า ทั้งๆ ที่กฎหมายกำหนดให้มีการแต่งตั้งจากองค์การสาธารณประโยชน์ด้านเกษตรกรรม ยั่งยืน และองค์การสาธารณประโยชน์ด้านการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายในท้องถิ่น 

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ

“การดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่เป็นตัวแทนของบริษัทซินเจนทาซึ่งเป็น บริษัทที่นำเข้าสารเคมีการเกษตรรายใหญ่ของไทยจะทำลายกลไกการควบคุมและจัดการ เรื่องสารเคมีและวัตถุอันตราย ทั้งในส่วนของการรับขึ้นทะเบียน การเพิกถอนวัตถุอันตราย และการพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจาก วัตถุอันตราย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย เนื่องจากระหว่างดำรงตำแหน่งอาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่ ได้ ไม่เท่านั้นยังขัดกับเจตนารมณ์ พ.ร.บ.วัตถุอันตรายที่สร้างเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการ กำกับนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของประชาชนด้วย” 

นายวิฑูรย์กล่าวต่อว่าปัจจุบัน สถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในขั้นวิกฤตแล้วทั้งแง่มุมตัวเลขเกษตรกร ผู้เจ็บป่วยและพืชผักผลไม้ที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU) เนื่องจากมีการตรวจพบสารเคมีเกษตรตกค้างเกินค่ามาตรฐาน (MRLs) ในพืชผักผลไม้มากครั้งที่สุดในโลก ถูกตรวจพบสารเคมีเกษตรตกค้างเกินค่ามาตรฐาน และมีจำนวนครั้งที่ตรวจพบมากที่สุดในโลก 

ด้านนางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผอ.มูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า การยื่นฟ้องต่อศาลปกครองครั้งนี้ได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 เฉพาะส่วนที่มีมติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในลำดับที่ 6 ถึง 9 คือ นางศุภวรรณ ตันตยานนท์ , นางสาวสุมล ปวิตรานนท์ , นายปกรณ์ สุจเร และนายสุมิดา บุรณศิริ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุ อันตรายทดแทนกรรมการที่ถูกเพิกถอน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดี และตัวแทนองค์การสาธารณประโยชน์อื่นๆ ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติส่งตัวแทนเพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิในด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านการเกษตรกรรมยั่งยืน และด้านการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายในท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2551 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา 

“ผู้ฟ้องคดียังได้ร้องขอต่อศาลได้มีคำ สั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ห้ามมิให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ จำนวน 4 คน ทำหน้าที่ในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ จนกว่าศาลจะมีคำตัดสินชี้ขาดด้วย” นางสาวเพ็ญโฉมกล่าว 

ทั้งนี้ความคืบหน้าล่าสุด สำนักงานศาลปกครองกลางได้รับเอกสารฟ้องไว้พิจารณาแล้ว ตามคดีหมายเลขดำที่ 390/2554 โดยหากถ้าศาลเห็นว่ากรณีนี้เป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องคุ้มครองฉุกเฉินจะดำเนิน การไต่สวนภายในหนึ่งสัปดาห์หลังรับฟ้อง แต่หากไม่ใช่กรณีเร่งด่วนจะดำเนินการพิจารณาโดยใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่ง เดือน