การเคลื่อนไหวต่อต้านพ.ร.บ.จีเอ็มโอ เอื้อประโยชน์บรรษัท ยกใหม่และอาจเป็นยกสุดท้ายได้เริ่มขึ้นแล้ว ? โดยหากพ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านคณะรัฐมนตรีเป็นผลสำเร็จ รัฐบาลนี้จะเป็นรัฐบาลแรกที่เปิดเสรีการปลูกพืชจีเอ็มโอ ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออธิปไตยและความมั่นคงทางอาหารของประเทศอย่างร้ายแรง และไม่มีมีรัฐบาลชุดใดในอดีตในรอบ 20 ปี ที่เลือกหนทางนี้ !
โดยเช้าวันนี้ (วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558) หน้าทำเนียบรัฐบาล นางสาวนันทวัน หาญดี นายอุบล อยู่หว้า นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา นายนิมิตร์ เทียนอุดม นายสามารถ สะกวี และนายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ ตัวแทนจากเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนรวม 9 องค์กร นำโดยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน จำนวนประมาณ 150 คน ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อคัดค้านร่างพ.ร.บ.จีเอ็มโอซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อบรรษัท รวมถึงการคัดค้านการเข้าร่วม TPP ซึ่งจะทำให้เกิดการผู้ขาดเมล็ดพันธุ์และผลกระทบอื่นๆที่เกิดจากการขยายสิทธิผูกขาดด้านทรัพย์สินทางปัญญา
ก่อนการยื่นจดหมาย เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนได้จัดแสดงกิจกรรมเพื่อแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ในการคัดค้าน โดยจัดให้มีชายแต่งตัวด้วยกางเกงทหารลายพรางใส่เสื้อสูทสีดำ สวมหมวกงอบชาวนาที่คาดด้วยสีธงชาติสหรัฐ แสดงท่าเหยียบย่ำพืชผลของเกษตรกร เพื่อสะท้อนถึงการเหยียบย่ำอธิปไตยและความมั่นคงทางอาหาร
หลังจากได้จัดแสดงการคัดค้านเชิงสัญญลักษณ์และการอภิปรายแสดงความไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว และรวมถึงการแสดงความเห็นคัดค้านการเข้าร่วมความตกลงยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค (TPP) แล้ว ตัวแทนของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน 9 องค์กรซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เอดส์ประเทศไทย, เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจแอลกอฮอล์, เครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพ ได้ยื่นจดหมายคัดค้าต่อ นายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชน ทำเนียบรัฐบาล เป็นตัวแทนของรัฐบาลในการรับจดหมายดังกล่าว
นายสุขสวัสดิ์ แจ้งแก่ผู้ชุมนุมว่าจะได้จัดส่งจดหมายฉบับดังกล่าวไปยังเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
จดหมายที่ส่งไปยังนายกรัฐมนตรีมีข้อความดังต่อไปนี้
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 13 พฤศจิกายน 2558 เรื่อง ขอให้ชะลอการนำร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และไม่เข้าร่วมกับความตกลง TPP เรียน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตามที่มีการเสนอร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ.... เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดส่งร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเพื่อขอความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆเพื่อประกอบการพิจารณา ซึ่งหากคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อตราเป็นกฎหมายต่อไปนั้น เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายความมั่นคงทางอาหารและภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ ดังรายนามผู้ลงนามในจดหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นเครือข่ายของเกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน และองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่ได้ติดตามพัฒนาการและเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมานับตั้งแต่ พ.ศ.2544 เห็นว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ มีเนื้อหาที่บกพร่องอย่างร้ายแรงทั้งในเชิงกระบวนการพัฒนากฎหมายและเนื้อหา ดังต่อไปนี้ ข้าพเจ้าผู้มีรายนามท้ายจดหมายฉบับนี้ขอนำเรียน ฯพณฯ เพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการดังต่อไปนี้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถือ (นางสาวนันทวัน หาญดี) |