กรุงเทพฯ, 9 ธันวาคม 2558 – เครือข่ายภาคประชาชนและผู้ประกอบการภาคเกษตรและอาหาร 115 เครือข่ายร่วมเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิอธิปไตย-ความมั่นคงทางอาหาร และทางเลือกของผู้บริโภคที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและศาลากลางจังหวัดในกว่า 40 จังหวัดทั่วประเทศ
เครือข่ายฯและประชาชน ได้ร่วมกันทำกิจกรรมรณรงค์เชิงสัญลักษณ์ด้วยการนำหุ่นไล่กาจำนวน 77 ตัว แทนจำนวนจังหวัดในประเทศไทย และส่งข้อความ “ค้าน พ.ร.บ.จีเอ็มโอ” “No GMO” และ “คนไทยไม่เอาจีเอ็มโอ” ให้กับคณะรัฐมนตรีพร้อมกับยื่นหนังสือต่อคณะรัฐบาลให้ชะลอร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ.... และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงร่างกฎหมายที่มีตัวแทนของภาคประชาชน และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ
ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และถูกคัดค้านจากภาคประชาชน กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ องค์กรภาคประชาสังคม เกษตรกร และภาครัฐประกอบด้วยกระทรวงพาณิชย์และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่ออธิปไตย-ความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยทางชีวภาพ และการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย
นายวัลลภ พิชญ์พงศา รองกรรมการผู้จัดการบริษัทนครหลวงค้าข้าวจำกัด กล่าวว่า “การอนุญาตให้มีการนำพืชจีเอ็มโอออกสู่สิ่งแวดล้อมจะเกิดผลกระทบในวงกว้าง เช่น ผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ซื้อในต่างประเทศ จากกรณีการปนเปื้อนของข้าวจีเอ็มโอกับข้าวทั่วไปของสหรัฐอเมริกาปี 2549 แสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาไม่สามารถป้องกันปัญหาการปนเปื้อนระหว่างพืชทั่วไปและและพืชจีเอ็มโอได้ ผลก็คือทำให้สหรัฐฯสูญเสียตลาดสหภาพยุโรปไป และผู้ซื้อจากสหภาพยุโรปหันมาซื้อข้าวจากประเทศไทยแทนข้าวจากอเมริกา (1)”
นายวัชรพล แดงสุภา ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า “ร่างพ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพฉบับนี้กลับคุ้มครองผลประโยชน์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติแทนที่จะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและผลประโยชน์ของเกษตรกรไทย โดยเจตนาที่จะไม่นำหลักการป้องกันเอาไว้ก่อน การคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพมาบังคับใช้”
“วันนี้เรานำหุ่นไล่กามาเป็นสัญลักษณ์เพื่อขับไล่ พ.ร.บ. ที่มีปัญหานี้ออกไป เราจะต้องไม่ลืมว่าครั้งหนึ่งได้เกิดการหลุดรอดของมะละกอจีเอ็มจากแปลงทดลองผ่านการจำหน่ายจ่ายแจกเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าจีเอ็มโอให้กับประชาชนทั่วไปซึ่งผิดกฎหมายและสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก (2) เพื่อให้เราไม่หวนไปสู่ความผิดพลาดอีก พ.ร.บ. นี้ควรถูกร่างขึ้นใหม่ให้มีความรัดกุมโดยคำนึงถึงหลักปลอดภัยไว้ก่อน กำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนในกรณีที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น นำข้อท้วงติงจากหน่วยงานสำคัญของรัฐทั้งสองหน่วยงาน และข้อเสนอจากเครือข่ายผ้ประกอบการและภาคประชาชน เพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง”
เครือข่ายองค์กรประชาชนยังได้ทำจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี โดยได้วิเคราะห์ให้เห็นปัญหาความไม่ชอบธรรม และข้อกพร่องต่างๆของร่างพ.รบ. และเสนอต่อรัฐบาลให้พิจารณา 2 ข้อ ดังนี้
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี(BIOTHAI) หนึ่งในองค์กรที่ร่วมเคลื่อนไหวครั้งนี้ชี้ว่า "นี่เป็นการเคลื่อนไหวต่อต้านในประเด็นที่เกี่ยวกับพืชจีเอ็มโอครั้งใหญ่ในสังคมไทย ผู้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวประกอบด้วยสมาคมการค้าเกษตรและอาหาร กลุ่มประชาชนในจังหวัดต่างๆมากกว่า 46 จังหวัดทั่วประเทศ และองค์กรภาคประชาสังคม รวมกันมากกว่า 122 องค์กร ตลอดระยะเวลาเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมา ไม่เคยมีรัฐบาลใดที่ผลักดันนโยบายและกฎหมายเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับจีเอ็มโอมากเท่าที่รัฐบาลนี้กำลังดำเนินการ พวกเราเชื่อว่าหากรัฐบาลเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้อง การเคลื่อนไหวจะขยายวงออกไปกว้างขวางมากยิ่งไปกว่านี้อีก ซึ่งรัฐบาลเองที่จะต้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้น"
กิจกรรมเคลื่อนไหวในวันนี้ยังจัดขึ้นในอีกกว่า 46 จังหวัด ได้แก่
1 จังหวัดขอนแก่น
2 จังหวัดมหาสารคาม
3 จังหวัดยโสธร
4 จังหวัดร้อยเอ็ด
5 จังหวัดสุรินทร์
6 จังหวัดอุดรธานี
7 จังหวัดอุบลราชธานี
8 จังหวัดเชียงราย
9 จังหวัดเชียงใหม่
10 จังหวัดนครสวรรค์
11 จังหวัดน่าน
12 จังหวัดพะเยา
13 จังหวัดแม่ฮ่องสอน
14 จังหวัดลำปาง
15 จังหวัดลำพูน
16 จังหวัดอุตรดิตถ์
17 จังหวัดกระบี่
18 จังหวัดสงขลา
19 จังหวัดพัทลุง
20 จังหวัดปัตตานี
21 จังหวัดตรัง
22 จังหวัดสตูล
23 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
24 จังหวัดภูเก็ต
25 จังหวัดพังงา
26 จังหวัดนครศรีธรรมราช
27 กรุงเทพมหานคร
28 จังหวัดกาญจนบุรี
29 จังหวัดจันทบุรี
30 จังหวัดฉะเชิงเทรา
31 จังหวัดชลบุรี
32 จังหวัดตราด
33 จังหวัดนครนายก
34 จังหวัดนครปฐม
35 จังหวัดปทุมธานี
36 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
37 จังหวัดปราจีนบุรี
38 จังหวัดเพชรบุรี
39 จังหวัดระยอง
40 จังหวัดสมุทรสงคราม
41 จังหวัดสระแก้ว
42 จังหวัดสระบุรี
43 จังหวัดสิงห์บุรี
44 จังหวัดสุพรรณบุรี
45 จังหวัดอ่างทอง
46 จังหวัดอุทัยธานี
หมายเหตุ
(1) รายงานอุตสาหกรรมข้าวไทยตกอยู่ในอันตราย:http://www.greenpeace.org/…/…/PageFiles/164310/Thai-Rice.pdf
(2) รายงานการปนเปื้อนมะละกอจีเอ็มโอในประเทศไทย:http://www.greenpeace.org/…/2/ge-papaya-contamination-th.pdf
(3) พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นพิธีสารภายใต้อนุสัญญาว่า ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ:https://www.cbd.int/doc/legal/cartagena-protocol-en.pdf
ภาพเยอะมาก ขี้เกียจคัด
Posted by บุษป์สุคนธ์ ปั้นช้าง on 10 ธันวาคม 2015
เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิอธิปไตย-ความมั่นคงทางอาหาร ทางเลือกของผู้บริโภค#ThailandNoGMO #NoGMOsDay
Posted by BIOTHAI on 10 ธันวาคม 2015
หนังสือยื่นต่อนายกรัฐมนตรีวันที่ 9 ธันวาคม 2558
เรื่อง ขอให้ชะลอ และแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ.... เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 นั้น องค์กรและเครือข่ายด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรและอาหารเครือข่ายผู้บริโภค กลุ่มองค์กรประชาชนในจังหวัดต่างๆ และองค์กรภาคประชาสังคม เห็นว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค อย่างร้ายแรง เนื่องจากมิได้นำเอาหลักการป้องกันไว้ก่อน และหลักการผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมตามพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพซึ่งเป็นหลักการสากลมาบัญญัติไว้ จากการวิเคราะห์โดยนักวิชาการด้านกฎหมายจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และองค์กรภาคประชาสังคมที่ติดตามปัญหาเรื่องสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม(จีเอ็มโอ)มามากกว่า 20 ปีเห็นว่าร่างกฎหมายนี้ขาดความชอบธรรม ขาดหลักการสำคัญ และมีข้อบกพร่องอย่างสำคัญดังต่อไปนี้ 1. กระบวนการร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ดำเนินการโดยกลุ่มสนับสนุนจีเอ็มโอ ซึ่งประกอบไปด้วย หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่วิจัยเรื่องจีเอ็มโอและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบรรษัทข้ามชาติที่ได้ประโยชน์จากจีเอ็มโอ โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ กฎหมายนี้ถูกตีกลับจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ อีกทั้งประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบไม่มีโอกาสได้เห็นเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.นี้ เพราะเพิ่งมาเผยแพร่หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว 2. การคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพอันเนื่องมาจากจีเอ็มโอนั้น มีพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ(ซึ่งประเทศไทยและประเทศต่างๆรวม 196 ประเทศได้ให้สัตยาบัน) แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้กลับมิได้นำเอาหลักการป้องกันเอาไว้ก่อน และการคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมของพิธีสารมาใช้แต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามกลับไปรับเอาแนวทางของสหรัฐอเมริกาในองค์การค้าโลกที่ให้ใช้การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดก่อนเท่านั้นมาใช้เกี่ยวกับจีเอ็มโอ ไม่สอดคล้องกับหลักการสากล เพราะแนวทางตามกฎหมายนี้อาจต้องใช้เวลานานหลายปีจึงจะสามารถพิสูจน์ได้ซึ่งไม่ทันการณ์ต่อการคุ้มครองสุขภาพและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและเศรษฐกิจสังคม 3. เนื้อหาในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีความบกพร่องในสาระสำคัญหลายประการเช่น 4. หน่วยงานสำคัญของประเทศ 2 หน่วยงานได้ท้วงติงต่อร่างพ.ร.บ.นี้ว่าอาจทำให้เกิดผลกระทบดังนี้ เครือข่ายของประชาชนและผู้ประกอบการและองค์กรต่างๆที่ร่วมลงนาม จึงขอเสนอต่อ ฯพณฯ ได้พิจารณาชะลอการส่งร่างกฎหมายฉบับนี้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ให้มีความสมบูรณ์ และสามารถปกป้องสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ สุขภาพ และผู้บริโภค ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังต่อไปนี้
ขอแสดงความนับถือ ภาคธุรกิจ |