ตามสถิติในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในหลายจังหวัดเนื่องจากการขยายตัวของการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์เข้าไปในพื้นที่ป่าและไร่หมุนเวียน โดยยังไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาที่ชัดเจน เนื่องจากการแก้ปัญหานี้ต้องมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานของรัฐ บริษัทเมล็ดพันธุ์และผู้ผลิตอาหารสัตว์ ชุมชน และเกษตรกรในพื้นที่
ความล้มเหลวจนปัญหาหมอกควันกลายเป็นปัญหาระดับชาติและเชื่อมโยงส่งผลกระทบต่อปัญหาอื่นๆ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง การชะล้างพังทลายของดิน การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ฯลฯ เกิดขึ้นจากการรวมศูนย์การจัดการทรัพยากรโดยรัฐที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และการส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยเอกชนภายใต้การสนับสนุนของบริษัทเอกชน เป็นสำคัญ
ข้อเสนอหลักในการแก้ปัญหา ที่ยังคงส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเชิงเดี่ยวในพื้นที่สูงโดยกำหนดเกณฑ์การรับซื้อผลผลิตที่มาจากพื้นที่ซึ่งมีเอกสารสิทธิ จะไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง และไม่สามารถสร้างแบบแผนการผลิต การตลาด และวิถีการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืนขึ้นได้ในพื้นที่สูง
ทางออกของการแก้ปัญหาหมอกควันและปัญหาอื่นที่เกิดตามมาเป็นลูกโซ่ ต้องเป็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและเกษตรกรรมยั่งยืนเชิงระบบ โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรรายย่อยและชุมชน ไม่ใช่การแก้ปัญหาโดยรัฐและบรรษัทเป็นผู้กำหนดเหมือนที่กำลังดำเนินการ ดังต่อไปนี้
รูปแบบของการผลิตที่ยั่งยืน ที่เหมาะสมมีหลากหลายรูปแบบ เช่น
อย่างไรก็ตามระบบเกษตรในข้างต้น จำเป็นต้องส่งเสริม พัฒนา ให้เกษตรกรรุ่นใหม่ สหกรณ์ ผู้ประกอบการในท้องถิ่น หรือประกอบการจากภายนอก เข้ามาเชื่อมโยงในการนำผลผลิตไปแปรรูปหรือจำหน่าย โดยบทบาทของรัฐและองค์กรท้องถิ่นควรทำหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมมากขึ้น
หากนึกอะไรไม่ออกว่า "รัฐ" ควรดำเนินการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อยอย่างไรได้บ้าง ขอให้นึกถึงมาตรการทั้งหลายแหล่ที่รัฐกำลังอุ้มชูกลุ่มทุนขนาดใหญ่และกลุ่มทุนข้ามชาติขณะนี้ เช่น ให้เช่าที่ดิน 99 ปี ลดภาษีนิติบุคคล ลดภาษีวัตถุดิบ สร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆมารองรับการลงทุน ประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ ฯลฯ เลิกหรือลดการสนับสนุนดังกล่าวเสียแล้วหันมาสนับสนุนวิสาหกิจขนาดเล็กเหล่านี้แทน