1.เกริ่นนำ
ท่าน ศ.สุริชัย หวันแก้ว รศ.จาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ตัวแทนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ผู้แทนเครือข่าย Asia DHRRA, Cambo DHRRA, Lao DHRRA, Viet DHRRA , Myan DHRRA ผู้ก่อตั้ง ThaiDhrra และเพื่อนพี่น้องทุกท่านครั
บ
ผมขอขอบพระคุณ ThaiDHRRA ที่ได้ให้เกียรติเชิญมากล่าวปาฐกถาในโอกาสเปิดตัวองค์กรอย่างเป็นทางการในวันนี้ และเรื่องที่ผมจะพูดในวันนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของคุณภาพชีวิตคนในชนบทและภาคเกษตรกรรมโดยตรง ซึ่งตรงกันกับภารกิจการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชนบท ซึ่งเป็นเป้าหมายการทำงานของทุกท่านในวันนี้
2.การตื่นตัวของประชาชน
ตลอด 2-3 ปีมานี้ ทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก ประชาชนกำลังตื่นตัวกับปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารพิษ 3 ชนิดได้แก่ สารกำจัดวัชพืชไกลโฟเซต ที่สถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ภายใต้ WHO กำหนดให้เป็นสารก่อมะเร็งชั้น 2A รัฐบาลสหรัฐไม่ยอมแบน แต่ประชาชนยื่นฟ้องต่อศาล มีคดีที่ขึ้นสู่ศาลแล้วมากกว่า 42,700 คดี และศาลได้ตัดสินแล้ว 3 คดีให้บริษัทต้องชดใช้ค่าเสียหายและค่าปรับมหาศาลต่อโจทก์และรัฐ สารพิษกำจัดวัชพืชพาราควอต ที่ประมาณ 60 ประเทศทั่วโลกแบนและประกาศแบนแล้ว ซึ่งน่ายินดีที่บัดนี้เวียดนาม ลาว กัมพูชา ศรีลังกาแบนแล้ว มาเลเซีย และจีนจะเริ่มแบนในวันที่ 1 มกราคมนี้ ในขณะที่ประเทศไทยเลื่อนการแบนออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2563 และสารพิษกำจัดแมลง ที่ชื่อคลอร์ไพริฟอส สารพิษกลุ่มที่พบการตกค้างมากที่สุดในผักและผลไม้ ซึ่งล่าสุดเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา สหภาพยุโรปประกาศแบนในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ เพราะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กและทารก
3.สารเคมีกำจัดศัตรูพืชคือ “สารพิษ” ไม่ใช่ยา
ผมตั้งใจเรียกประเภทสารเคมี
ที่ภาษาอังกฤษใช้คำ Pesticide ว่าเป็น “สารพิษ” แทนที่จะเรียกโดยภาษาชาวบ้า
นว่า “ยาฆ่าหญ้า” หรือ “ยาฆ่าแมลง” เพราะสิ่งนี้ไม่ใช่ “ยา” ซึ่งรักษาชีวิตผู้คน แต่เป็นสารพิษ “Toxic Substance” หรือเป็นประเภทหนึ่งของ “วัตถุอันตราย” “Harzardous Substance” ตามกฎหมายของไทย ซึ่งฆ่าพืชหรือแมลงที่เราไม
่ประสงค์ หากใครอยู่ในวงการเกษตรคงพอ
จะทราบว่ามีความพยายามที่จะ
เปลี่ยนชื่อสิ่งนี้ว่าเป็น “ผลิตภัณฑ์อารักขาพืช” หรือ Plant Potection Products เพื่อปิดบังคุณสมบัติพิษของ
มัน
หลายท่านคงทราบดีว่าการใช้สารเคมีเหล่านี้บางส่วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสงคราม ตัวอย่างเช่น สารพิษกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตพัฒนามาจากแกสพิษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือที่รู้จักกันดี สารพิษกำจัดวัชพืชที่ชื่อ 2,4-D เป็นส่วนหนึ่งของสารพิษฝนเหลืองที่ใช้ในสงครามเวียดนาม ซึ่งน่ายินดีที่สารพิษซึ่งสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติภายใต้ WHO กำหนดให้เป็นสารก่อมะเร็งชั้น 2A นั้น ถูกแบนแล้วในเวียดนามแต่ยังคงมีจำหน่ายอยู่ในหลายประเทศในเอเชียรวมทั้งประเทศไทย
4. ปริมาณการใช้สารพิษกำลังเพิ่มขึ้นแต่กลับไม่ได้แก้ปัญหา
4.1 ผลผลิตไม่เพิ่ม
ปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก กล่าวเฉพาะประเทศไทยเมื่อพิจารณาในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า แต่ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของพืชเศรษฐกิจส่วนใหญ่กลับไม่ได้เพิ่มขึ้น เช่น จากการเปรียบเทียบผลผลิตต่อไร่ของพืชเศรษฐกิจสำคัญเมื่อปี 2551 เปรียบเทียบกับปี 2559 ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ผลผลิตต่อไร่ส่วนใหญ่ลดลง เช่น
-
ผลผลิตยางพาราลดลงจาก 241 กิโลกรัมต่อไร่ เหลือ 224 กิโลกรัมต่อไร่
-
อ้อยลดลงจาก 11,157 กิโลกรัมต่อไร่ เหลือ 9,152 กิโลกรัมต่อไร่
-
ปาล์มน้ำมันจาก 3,214 กิโลกรัมต่อไร่ เหลือ 2,409 กิโลกรัมต่อไร่
-
ยกเว้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เท่านั้นที่ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 652 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 654 กิโลกรัมต่อไร่
4.2 แมลงศัตรูพืชระบาด
การเพิ่มปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อย่างไม่เหมาะสมทำให้เกิดการโรคระบาดของแมลงศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น และไม่มีแนวโน้มว่าเราจะสามารถเอาชนะศัตรูพืชดังกล่าวได้ ตัวอย่างเช่น กรณีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งในอดีตเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่เคยเป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญมาก่อน แต่เมื่อมีการปลูกข้าวสายพันธุ์เดียวกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ มีการปลูกต่อเนื่อง มีการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณสูง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้กลายเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญ ทำลายพื้นที่ปลูกข้าวนับล้านๆไร่ ในทุก 10 ปีโดยพบว่ายิ่งมีการใช้สารเคมีกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจะพัฒนาตัวเองให้ต้านทานเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันในประเทศไทยมีการพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากถึง 9 ชีวชนิดที่ต้านทานสารเคมีกำจัดแมลงในนาข้าว
4.3 การต้านทานของวัชพืช
รายงานการสำรวจภายใต้โครงการ International Survey of Herbicide-Resistant Weeds ได้เผยแพร่ข้อมูลล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ พบว่าขณะนี้วัชพืชที่ต้านทานสารพิษกำจัดวัชพืชแล้ว 259 ชนิด ครอบคลุมสารพิษกำจัดศัตรูพืช 167 ชนิด ( 26 กลุ่มฤทธิ์การทำลาย) ระบาดในพื้นที่การปลูกพืช 93 ชนิดใน 70 ประเทศ เช่น
-
มีวัชพืชที่ต้านทานอะทราซีนแล้ว 66 ชนิด
-
มีวัชพืชที่ต้านทานไกลโฟเซต 43 ชนิด และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
-
ต้านทานพาราควอต 31 ชนิด เป็นต้น
-
ที่น่าสนใจคือมีวัชพืชมากกว่า 100 ชนิดที่ต้านทานสารพิษได้มากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป และมากกว่า 20 ชนิดที่ต้านทานสารพิษได้มากกว่า 4 กลุ่ม
การแก้ปัญหานี้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญวัชพืชและบริษัทสารพิษคือ เปลี่ยนชนิดของสารเคมีฉีดพ่นไปใช้สารพิษกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่นหรือกลุ่มอื่น (different sites of action)แทน แต่พวกเขาพบว่าวัชพืชกลับพัฒนาจนสามารถต้านทานสารพิษทดแทนเหล่านั้นด้วยเช่นกัน การใช้สารพิษกำจัดวัชพืชจึงเป็นการแก้ปัญหาเกษตรกรรมที่ไม่ยั่งยืน อีกทั้งนำปัญหาใหม่ๆมาสู่ระบบเกษตรกรรมและอาหารของเรา
5. เกษตรกรคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
เกษตรกรคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเนื่องจากพวกเขาเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้รับสัมผัสสารโดยตรง เมื่อ 2-3 เดือนก่อน มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งเสียชีวิตหลังจากถังฉีดพาราควอตรั่วที่จังหวัดตาก เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเครือข่ายของพวกเราเผยแพร่ภาพเด็กหนุ่มอีกคนที่ฉะเชิงเทรา(ผ่านการอนุญาตของเขา) ผิวหนังถูกทำลายตั้งแต่กลางหลังไปจนถึงสะโพก เราขอภาวนาให้เขาปลอดภัย เพราะข้อมูลพบว่าคนที่ประสบอุบัติเหตุในลักษณะนี้ที่ไปรักษาในโรงพยาบาลมีโอกาสเสียชีวิต 8-15% กลุ่มคนที่ได้รับความเสี่ยงรองลงมาก็คือคนในครอบครัว และสมาชิกในชุมชนนั้นเอง เกษตรกรตระหนักดีถึงพิษภัยที่มีต่อสุขภาพของตนเอง ลูกหลาน และเพื่อนบ้าน และที่จริงพวกเขาพร้อมและสนับสนุนการยกเลิกสารพิษกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง งานศึกษาของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในชาวไร่อ้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงความวิตกกังวลของพวกเขา โดย 91% เกรงว่าลูกหลานตนเองจะเดินเข้าไปในพื้นที่ฉีดพ่น และ 81% กลัวเพื่อนบ้านต่อว่าเมื่อฉีดพ่นสารนี้
6. สารพิษกำจัดศัตรูพืชไม่ได้เป็นทางเลือกที่ถูกกว่าวิธีการอื่นๆ
งานศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประมาณการผลกระทบภายนอกรวมท
ั้งหมดของการใช้สารเคมีกำจั
ดศัตรูพืชวิเคราะห์โดยวิธี PEA จากข้อมูลปริมาณการนำเข้าสา
รเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศ
ไทย นำมาพิจารณาหาต้นทุนผลกระทบ
ภายนอกจากสารเคมีกำจัดศัตรู
พืช พบว่าทุก 1 ล้านบาทที่เรานำเข้าสารเคมี
เกษตรกรต้องจ่ายเพิ่มอีก 760,000 บาทสำหรับผลกระทบต่อสุขภาพแ
ละสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ เมื่อปีที่แล้วเรานำเข้าสาร
เคมีกำจัดศัตรูพืชมูลค่า 30,000 ล้านบาท ดังนั้นคิดเป็นความเสียหายท
ี่ต้องจ่ายสูงถึง 23,000 ล้านบาท
นอกเหนือจากนี้สารเคมีกำจัดศัตรูเหล่านี้กลับไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มมานานนับตั้งแต่ปี 2535 มาแล้ว รวมเป็นจำนวนเงินประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี พวกเขาอ้างว่าเพื่อไม่ให้เกษตรกรต้องรับภาระ แต่แท้ที่จริงก็เพื่อผู้ประกอบการสารพิษ เพราะเกษตรกรที่ต้องลงทุนกำจัดวัชพืชโดยวิธีอื่น เช่น เครื่องตัดหญ้า วัสดุคลุมดิน หรืออื่นๆ กลับต้องเสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย
7. บทเรียนของสงครามแบนสารพิษ
หลายปีที่ติดตามและร่วมเคลื
่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องสารพิ
ษ ผมประจักษ์แจ้งว่าความยากลำ
บากในการแบนสารพิษ เนื่องจากเรื่องนี้เกี่ยวข้
องกับปัญหาเชิงโครงสร้างของ
ระบบเกษตรกรรมและอาหาร และฐานคติซึ่งถูกครอบงำหลาย
ระดับตลอดประวัติศาสตร์การพ
ัฒนาของระบบเกษตรกรรมและอาห
ารเชิงเดี่ยวภายใต้ระบบทุนน
ิยม
ภายใต้โครงสร้างนี้ มีผู้เล่นหลากหลายระดับเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างแยกกันไม่ออก โดยผมขอแยกแยะให้เห็นเป็นลำดับดังนี้
7.1 เครือข่ายบริษัทสารพิษกำจัดศัตรูพืช-และเมล็ดพันธุ์พืชระดับโลก
ตลาดของสารเคมีกำจัดศัตรูพื
ชของโลก 98% นั้นอยู่ในมือของบริษัทเพีย
ง 9 บริษัทเท่านั้น เช่นเดียวกันกับตลาดของเมล็
ดพันธุ์ 8 บริษัทมีส่วนแบ่ง 75% ของโลก ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือตลา
ดของทั้งเมล็ดพันธุ์และสารเ
คมีของโลกประมาณ 61-65%ของโลกอยู่ในมือของ 3 บรรษัทยักษ์ใหญ่คือ ไบเออร์-มอนซานโต้ , เคมไชน่า-ซินเจนทา และดาว-ดูปองท์ เท่านั้น โดยไบเออร์-มอนซานโต้มีส่วน
แบ่งตลาดเมล็ดพันธุ์ 30.1% ส่วนแบ่งตลาดสารเคมี 24.6% ส่วนเคมไชน่า-ซินเจนทา มีส่วนแบ่งตลาดเมล็ดพันธุ์ 7.9% แต่มีส่วนแบ่งตลาดสารเคมี 25.8% และดาว-ดูปองท์ มีส่วนแบ่งเมล็ดพันธุ์ 22.7% และมีส่วนแบ่งตลาดสารพิษ 15% โดยบริษัทที่ผลิตสารเคมีกำจ
ัดศัตรูพืชจะผลักดันให้เกษต
รกรและประเทศต่างๆใช้พืชดัด
แปลงพันธุกรรมต้านทานสารพิษ
กำจัดวัชพืชไปพร้อมกันด้วย เป็นการผูกขาดปัจจัยการผลิต
ได้เบ็ดเสร็จ
บริษัทเหล่านี้ไม่ได้มีสัญชาติแบบที่เราเข้าใจ ตัวอย่างเช่นเราเคยนึกถึงมอนซานโต้ว่าเป็นบริษัทของสหรัฐ และไบเออร์ว่าเป็นบริษัทเยอรมนี และพลอยเข้าใจว่าเมื่อไบเออร์ซื้อมอนซานโต้แล้ว เจ้าสารไกลโฟเซตและพืชดัดแปลงพันธุกรรมต้านทานไกลโฟเซตจะกลายเป็นของบริษัทเยอรมนีไปด้วย แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะผู้ถือหุ้นไบเออร์ 30.2% เป็นอเมริกัน ส่วนเยอรมันมีสัดส่วนหุ้น 20.2% อังกฤษและไอร์แลนด์ 14.2% และสิงคโปร์ 4.8% เป็นต้น
เมื่อถึงตรงนี้ จำเป็นต้องขยายความเพิ่มเติมด้วยว่า เหตุผลที่ USDA ต่อต้านการแบนไกลโฟเซตในประเทศไทยและในเวียดนามนั้น มิใช่เพราะข้ออ้างว่าจะกระทบต่อการส่งออกข้าวสาลีและถั่วเหลืองซึ่งจะได้รับผลกระทบหากพบไกลโฟเซตตกค้างในผลผลิตนำเข้าเท่านั้น แต่เป็นเพราะการแบนไกลโฟเซตจะกระทบต่อพืชดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งเป็นผลประโยชน์ของบรรษัทไบเออร์-มอนซานโต้ในอนาคตด้วยนั่นเอง
บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้สร้างเครือข่ายการล็อบบี้นโยบายทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ โดยในประเทศไทย พวกเขาลงทุนเปิดสำนักงานสาขาขึ้นเมื่อปีที่แล้วหลังจากกระแสสนับสนุนการแบนสารพิษ 3 ชนิดได้กลายเป็นกระแสสำคัญ พวกเขาทำงานกับนักการเมือง สถาบันการศึกษา นักวิชาการ และแม้กระทั่งสื่อมวลชน ผมเห็นภาพอดีตนายกรัฐมนตรีได้รับเชิญไปพูดคุยกับสมาชิกในโรงแรมหรู มีโอกาสได้เห็นภาพของตัวแทนบริษัทยักษ์ใหญ่เข้าไปพบปะหารือกับพรรคการเมือง เห็นอดีตอธิบดีควงแขนผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่เข้าไปแถลงคัดค้านการแบนสารพิษในห้องประชุมของกระทรวงเกษตรฯ เห็นนักวิชาการและสื่อมวลชนเกษตรเดินทางไปดูงานที่ห้องปฏิบัติการของบริษัทที่มิซซูรี่ เห็นโครงการวิจัยของสมาคมวิชาการที่ได้ทุนวิจัยจากบริษัทผลิตพาราควอต และเห็นหนังสือของนักวิทยาศาสตร์ซึ่งบอกว่าไกลโฟเซตปลอดภัยกว่าเกลือแกงได้รับการสนับสนุนการพิมพ์และข้อมูลการเขียนจากองค์กรล็อบบี้ทางนโยบายดังกล่าว
อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวใหญ่เพื่อต่อต้านการแบนสารพิษในประเทศไทยนั้น พวกเขามิได้อยู่ข้างหลังทำงานล็อบบี้เท่านั้น แต่พวกเขานำหน้าการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเลยทีเดียว
7.2 อุตสาหกรรมเกษตรเชิงเดี่ยว
เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวเพื่อผลิตวัตถุดิบราคาถูกเพื่อการส่งออกหรือป้อนอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชพาณิชย์ 4 ชนิดได้แก่ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย เป็นการผลิตพืชเชิงเดี่ยว ที่ต้นทุนสูงแต่ขายได้ในราคาต่ำ การผลิตเช่นนี้จำเป็นต้องอาศัยปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งสายพันธุ์ที่คัดเลือกเพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกดังกล่าว การแบนสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีปริมาณการใช้รวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ จึงไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะบรรษัทสารเคมี และกลุ่มทุนท้องถิ่นที่ค้าขายสารพิษเท่านั้น แต่กระทบต่อความมั่นคงของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ น้ำตาล แป้งมัน เป็นต้นด้วย
7.3. ระบบราชการ สถาบันการศึกษา และสมาคมวิชาการเพื่อเกษตรกรรมเคมี
การกล่าวว่าข้าราชการ และนักวิชาการจำนวนหนึ่งที่
ต่อต้านการแบนสารพิษเป็นเพร
าะพวกเขามีผลประโยชน์ทั้งโด
ยตรงและโดยอ้อมจากอุตสาหกรร
มสารพิษและอุตสาหกรรมเกษตรเ
ชิงเดี่ยวไม่ตรงกับความเป็น
จริงทั้งหมด เพราะหน่วยงานและผู้คนที่ลุ
กขึ้นมาคัดค้านการแบนนั้น จำนวนมากพวกเขาเชื่อเช่นนั้
นจริงๆว่า การแบนไกลโฟเซตและพาราควอตจ
ะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทา
งอาหาร เพราะความมั่นคงทางอาหารและ
ความเจริญก้าวหน้าของภาคเกษ
ตรกรรมจากฐานคติของพวกเขาคื
อ กรอบแนวความคิดเกษตรกรรมตาม
แนวทางการปฏิวัติเขียวเมื่อ
ทศวรรษ 1960-1970
ส่วนใหญ่ของพวกเขาวัดความสำเร็จของการพัฒนาเกษตรกรรมจาก ผลผลิตต่อไร่ หรืออย่างมากก็คิดผลกำไรที่เกษตรกรจะได้รับจากต้นทุนการผลิตเฉพาะหน้า โดยไม่เห็นว่าผลกำไรเล็กน้อยๆนั้นมาจากการไม่คิดต้นทุนชีวิต ต้นทุนสิ่งแวดล้อม ต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ และการสนับสนุนจากรัฐในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งไม่เห็นว่าระบบเช่นนี้ได้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในภาคเกษตรกรรมมากขนาดไหน พวกเขาเห็นว่าความก้าวหน้าของเกษตรกรรม แต่ไม่เห็นชีวิตที่แท้จริงของเกษตรกร
7.4. เกษตรกรรายย่อยในระบบการผลิตเชิงเดี่ยว
ภายใต้พันธนาการของปัญหาหนี
้สิน ปัญหาการถือครองที่ดิน และโครงสร้างทางนโยบายของปร
ะเทศที่เอื้อเฟื้อการผลิตเช
ิงเดี่ยว ทั้งในรูปปุ๋ย/
สารเคมีราคาถูก เงินกู้ เงินให้เปล่า และมาตรการสนับสนุนราคา ทำให้เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ
่อย่าว่าแต่จะแหวกออกจากวงจ
รดังกล่าวได้เลย แม้แต่การแบนสารพิษกำจัดวัช
พืชบางชนิด เพื่อเปลี่ยนไปใช้วิธีการคว
บคุมวัชพืชหรือศัตรูพืชแบบอ
ื่นก็ทำให้พวกเขารู้สึกหวั่
นไหว ว่าจะกระทบกับผลกำไรน้อยนิด
ที่พวกเขาเคยได้รับว่าจะหดห
ายลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่ พวกเขาจำยอมต้องเดินหน้าการ
ผลิตเชิงเดี่ยวดังกล่าว ทั้งๆที่ผลการศึกษาของกระทร
วงเกษตรลและสหกรณ์พบว่า เมื่อเปรียบเทียบการปลูกอ้อ
ยและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กับการทำเกษตรแบบผสมผสานแล้
ว การปลูกอ้อยและข้าวโพดจะได้
กำไรไร่ละ 1,400-1,500 บาท แต่การทำเกษตรแบบผสมผสานจะไ
ด้ผลกำไรไร่ละมากกว่า 7,300 บาท หรือมากกว่า 5 เท่า
น่าเศร้าสลดและน่าสังเวชที่ ภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้น การแบนสารพิษร้ายแรงอย่างพาราควอต หรือสารพิษก่อมะเร็งแบบไกลโฟเซต ได้ถูกหยิบฉวยสร้างวาทกรรมว่าเป็น “การละเมิดสิทธิเกษตรกร” ในการใช้สารพิษที่มีประสิทธิภาพและมีราคาถูก และมีเกษตรกรจำนวนหนึ่งที่เข้าร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการแบน
8. อนาคตเกษตรกรรมไทยหลังสงครามแบนสารพิษ
ที่จริงแล้วสงครามการแบนสารพิษยังไม่จบ กลุ่มสนับสนุนการแบนสารพิษร้ายแรงต้องการเห็นเส้นตายการแบนไกลโฟเซตถูกกำหนดขึ้น เช่นเดียวกับที่หลายประเทศในยุโรปประกาศ และต้องการเดินหน้าจัดการปัญหาสารพิษอื่นๆอีกกว่า 150 ชนิดที่มีพิษภัยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในขณะที่กลุ่มต่อต้านก็ไม่ได้พึงพอใจกับการที่ไกลโฟเซตยังไม่ถูกแบน และพวกเขาประสงค์จะให้เลื่อนการแบนพาราควอตออกไปอย่างไม่มีกำหนด
สิ่งนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในมาเลเซียกรณีการแบนพาราควอตในระหว่างปี 2007-2009 ที่ถูกต่อต้านจนรัฐต้องกลับมาอนุญาตให้มีการใช้ใหม่ จนในที่สุดต้องเริ่มต้นแบนอีกครั้งในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ หรือเช่นเดียวกับกรณีการแบนไกลโฟเซตในศรีลังกาถึง 2 ครั้ง และล่าสุดต้องอนุญาตให้กลับมาใช้ในบางพืช เช่น ยางพารา และชา เป็นต้น หากมองจากมิติบทเรียนจากสงครามการแบนสารพิษ ผมเห็นภาพเกษตรกรรมในอนาคตมีภาพร่างที่เราต้องช่วยกันเติมเต็มให้เห็นชัดเจนดังนี้
8.1 หากต้องการเกษตรกรรมที่ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคเราต้องไม่หวังว่าจะแบนสารพิษแค่เพียง 3 ตัวเท่านั้น เพราะสารพิษตัวอื่นเช่น อะทราซีนถูกแบนแล้วในยุโรป คาร์เบนดาซิมถูกแบนแล้วในสหรัฐ 2,4-D ถูกจัดชั้นเป็นสารก่อมะเร็งชั้น 2A และมากกว่า 150 ชนิดจาก 260 ชนิดที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งคือ มีพิษเฉียบพลันสูง ก่อมะเร็ง ก่อกลายพันธุ์ และมีฤทธิ์ตกค้างในสิ่งแวดล้อม เราอาจต้องแบนสารพวกนั้นทั้งหมดซึ่งไม่อาจทราบได้ว่าเราจะทำสำเร็จได้เมื่อใด
8.2 การทำเช่นนั้นแม้ทำได้หรือท
ำไม่ได้สิ่งที่เราต้องทำคือ
การต้องเพิ่มพื้นที่เกษตรกร
รมเชิงนิเวศให้เพิ่มขึ้น โดยต้องมีเป้าหมายเชิงนโยบา
ยที่ชัดเจน ตั้งเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม
และให้คนในสังคมไทยเห็นพ้อง
ต้องกันในเรื่องนี้
ภายใต้รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ท่ามกลางกระแสสูงของเสียงเรียกร้องให้แบน 3 สารพิษ สภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร ชื่อ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ด้วยเสียง 399 ต่อ 0 โดย ผมได้รับเชิญให้เป็นกรรมาธิการในกรรมาธิการคณะนี้ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 44 คนนี้ด้วย โดยนอกเหนือจากการเสนอให้แบน 3 สารพิษอย่างเร่งด่วนแล้ว คณะกรรมาธิการชุดนี้ได้นำเสนอประเทศไทยปรับเปลี่ยนไปสู่เกษตรกรรมอินทรีย์และเกษตรกรรมยั่งยืนด้วย ผมได้รับเกียรติให้เป็นเสนอร่างโรดแมพว่าต้องการเห็นเกษตรกรรมของประเทศเปลี่ยนแปลงเป็นแบบใดให้กรรมาธิการได้พิจารณา ผมเสนอให้กำหนดเป้าหมายประเทศไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืนหรือเกษตรกรรมเชิงนิเวศให้ได้อย่างน้อย 50% ของพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศในปี 2573 หรือในอีก 10-11 ปีข้างหน้า แต่ที่ประชุมกลับไม่เห็นชอบ หลายคนคงนึกว่าพวกนักเลือกตั้งเหล่านี้ในที่สุดแล้วก็คงไม่พ้นโยงใยได้ประโยชน์กับพวกผลประโยชน์จากบริษัทสารพิษทั้งโดยตรงและโดยอ้อมแน่ๆ
เปล่าครับ ! พวกเขาบอกว่าเป้าหมายที่ผมตั้งไว้นั้นยังไม่ท้าทายเพียงพอ พวกเขาบอกว่าเราอยากเห็นเกษตรกรรมของประเทศเปลี่ยนเป็นเกษตรกรรมอินทรีย์และเกษตรกรรมยั่งยืน 100% ในอีก 10-11 ปีข้างหน้านี้ เพื่อให้พวกเขาได้เห็นเป้าหมายนี้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของพวกเขาและพวกเราทุกคน !
เมื่อรายงานของกรรมาธิการแล้วเสร็จภายใต้กรอบ 60 วัน ประธานและกรรมาธิการต้องเสนอเรื่องนี้ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาข้อเสนอแนะและลงมติ โดยปรากฏว่าผ่านความเห็นชอบด้วยเสียงเป็นเอกฉันท์ 423 เสียงต่อ 0 จากผู้เข้าร่วมประชุม 424 คน มีเฉพาะประธานรัฐสภาเท่านั้นที่งดออกเสียงตามมารยาท เบื้องหลังการลงมติของพรรคการเมื่อง และนักการเมือง ผมคิดว่ามาจากการเคลื่อนไหวของประชาชน การสะท้อนเจตจำนงของประชาชนส่วนใหญ่ ในความเห็นของผม เจตจำนงทางการเมืองในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่เกษตรกรรมที่คุ้มครองสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงๆ และจะว่าไปแล้วสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่ามากหากหวังว่าเป้าหมายเช่นนี้จะมาจากระบบราชการที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม
8.3 เราไม่ได้แค่ต้องการแค่เพียงเป้าหมายทางการเมืองหรือเป้าหมายทางนโยบาย แต่เราต้องทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นได้จริงในทางปฏิบัติ
เราไม่ใช่พวกโลกสวย ที่มีเพียงเกษตรกรรมเชิงนิเวศอยู่ในความฝัน แต่สิ่งที่เราเห็นสามารถสร้างขึ้นได้จริงๆ ตัวอย่างเช่น เครือข่าย 304 กินได้ในภาคตะวันออกมีเกษตรกรนับพันครอบครัวที่ทำเกษตรกรรมอินทรีย์ที่มีระบบรับรองมาตรฐานอย่างเข้มข้น ผมได้พบเกษตรกรที่บ้านหนองโจด อ.เมือง จ.มหาสารคาม ซึ่งปลูกพริกมาเป็นอาชีพมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย มีเกษตรกรที่ปลูกพริกกว่า 100 ครอบครัว ตอนนี้ 40% ของครัวเรือนที่นั่นเปลี่ยนแปลงมาเป็นการปลูกพริกอินทรีย์แล้วทั้งๆที่พริกเป็นพืชที่มีปัญหาแมลงศัตรูพืชสูงมาก 60% ของผลผลิตถูกส่งมาขายที่ตลาดเขียวในจังหวัด และ 40% ที่เหลือส่งขายให้กับร้านค้าร้านอาหารในเมือง เกษตรอินทรีย์ที่ตอบสนองต่อคนไทยและคนในท้องถิ่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว โดยทุกฝ่ายได้รับประโยชน์
มีชุมชนที่ทำเกษตรอินทรีย์ทั้งชุมชนเกิดขึ้นแล้ว ตัวอย่างเช่น บ้านกุดหิน ต.กำแมด และบ้านสันติสุข ต.นาโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร เป็นต้น ชุมชนที่นั่นทำเกษตรอินทรีย์ 100% เมื่อมีชุมชนที่ทำเกษตรอินทรีย์ได้ การทำให้เกิดตำบลเกษตรอินทรีย์ อำเภอ และจังหวัดเกษตรอินทรีย์ทำไมจึงจะทำไม่ได้ ตอนนี้เราเห็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรเกษตรกร องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชนต่างๆ กำลังทำสิ่งนั้นอยู่ทั้งที่สุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ และอีกหลายจังหวัด
มาดูประสบการณ์ในต่างประเทศกันบ้างครับ เป็นความสำเร็จของรัฐเล็กๆแห่งหนึ่งกันครับ
สิกขิม รัฐเล็กๆเชิงเขาหิมาลัยของอินเดีย เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงให้เป็นดินแดนเกษตรอินทรีย์ 100% เมื่อปี 2003 บัดนี้เป้าหมายนั้นเป็นจริงแล้ว โดยใช้เวลาเพียง 13 ปี ความกล้าหาญและวิสัยทัศน์ทางนโยบายของสิกขิมได้รับการยอมรับในระดับโลก โดย Pawan Kumar Chamling มุขมนตรีแห่งสิกขิมได้รับรางวัล Future Policy Award ประจำปี 2018 ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เมื่อเร็วๆนี้ การเปลี่ยนแปลงรัฐแห่งหนึ่งของโลกให้เป็นเกษตรเชิงนิเวศ 100% ดังกรณีตัวอย่างของสิกขิม เปรียบเสมือนห้องทดลองขนาดใหญ่ที่ใช้รัฐทั้งรัฐทำการทดลอง และประสบผลสำเร็จเหนือความคาดหมายภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งทศวรรษเท่านั้น ข้อมูลล่าสุดซึ่งรัฐบาลรัฐสิกขิมเผยแพร่เมื่อเร็วๆนี้ แสดงให้เห็นผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ย้อนหลังนับตั้งแต่เริ่มประกาศนโยบายเกษตรอินทรีย์เมื่อปี 2003-2004 เป็นลำดับจนถึงข้อมูลผลผลิตล่าสุดในปี 2015-2016 ซึ่งพบว่า ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มิลเล็ต บั๊กวีด และเมล็ดพืชน้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ถั่วพัลส์มีผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่อยู่ในระดับเดิมแต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ยกเว้นกรณีข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์ ที่ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ลดลง (แต่ดูจากแนวโน้มผลผลิตของข้าวบาร์เลย์มีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่องอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา)
โดยรัฐบาลสิกขิมได้เล็งเห็นปัญหาการลดลงของผลผลิตของเกษตรอินทรีย์ในพืชบางชนิดในระยะการปรับเปลี่ยน จึงมีมาตรการชดเชยผลผลิตและรายได้ให้กับเกษตรกร การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวจึงดำเนินไปโดยไม่เกิดผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรแต่ประการใด ความสำเร็จของสิกขิมเกิดขึ้นจากเจตจำนงทางการเมืองที่มุขมนตรีของรัฐ Chmamling ได้รับการสนับสนุนจากชาวสิกขิม โดยได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันนานถึง 4 สมัย ยาวนานที่สุด นโยบายเกษตรอินทรีย์จึงสามารถดำเนินการได้ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2003 จนบรรลุความสำเร็จในปี 2015 ระบบการเมืองที่มีการกระจายอำนาจ ซึ่งรัฐสิกขิมสามารถออกกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามการเข้าสารพิษกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีทางการเกษตร เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐแห่งหนึ่งสามารถตั้งเป้าหมายการพัฒนาและกำหนดมาตรการเป็นการเฉพาะเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายได้ในที่สุด จนในที่สุดรัฐบาลกลางก็ออกมาชื่นชมและยกย่องว่าเป็นความภาคภูมิใจและจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับอินเดียทั้งประเทศ
นอกจากระดับรัฐแล้วเกษตรกรรมเชิงนิเวศที่กำลังจะกลายเป็นกระแสหลักกำลังเกิดขึ้นแล้ว ตัวอย่างเช่นออสเตรีย ออสเตรียเป็นประเทศแรกของยุโรปที่ประกาศแบนไกลโฟเซต โดยการลงมติของรัฐสภาออสเตรีย ในขณะที่สมาชิกสหภาพยุโรปอย่างฝรั่งเศส ประกาศจะแบนในปี 2021 และเพื่อนบ้านอย่างเยอรมนีประกาศจะแบนในปี 2023 ไม่แปลกใจที่ออสเตรียจะตัดสินใจเช่นนั้น เพราะประเทศนี้คือประเทศเกษตรอินทรีย์ ที่มีสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากถึง 25% ของพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศ (ไม่นับประเทศเล็กๆอย่างซามัวร์ และลิกเตนสไตน์ ที่มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ประมาณ 40% ของพื้นที่เกษตรของประเทศ) เกษตรอินทรีย์ของออสเตรียแข็งแกร่งมากกว่าประเทศใดๆ เนื่องจากเติบโตมาจากขบวนการ "เกษตรชีวพลวัต" หรือ "Biodynamic farming" ที่ก่อตั้งโดย Rudolf Steiner ซึ่งเป็นทั้งนักปรัชญา สถาปนิกสังคม นักการศึกษา ฯลฯ คนสำคัญของออสเตรีย-เยอรมนี ขบวนการเกษตรชีวพลวัตของออสเตรียเริ่มมาตั้งแต่ปี 1924 ก่อนยุคเกษตรอินทรีย์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อังกฤษหลายปี โดยกลุ่มเกษตรกรเหล่านี้ได้แรงบันดาลใจจากการบรรยายเกี่ยวกับประเด็นนิเวศวิทยา และกระบวนการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยวิถีและพลังธรรมชาติของสไตเนอร์
8.4 ปัญหาขวากหนามที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงนี้ คือปัญหาเชิงโครงสร้างนโยบายที่ไม่สามารถทำให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระ
ไม่ต้องเอ่ยอ้างอุดมการณ์หรือผลประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาของรัฐเองที่บอกว่าเกษตรแบบผสมผสานจะได้ผลกำไรไร่ละมากกว่า 7,300 บาท หรือมากกว่า 5 เท่า เมื่อเปรียบเทียบการทำการปลูกอ้อยและข้าวโพดจะได้กำไรไร่ละ 1,400-1,500 บาท แต่เรากลับไม่สามารถสร้างให้ทิศทางดังกล่าวกลายเป็นทิศทางหลักของระบบเกษตรกรรมได้
เราสามารถทำให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจเลือกวิถีเกษตรกรรมที่เป็นธรรม เท่าเทียม และสร้างผลกำไรได้โดย การยุติระบบภาษีที่อยุติธรรม เช่น ยุติการยกเว้นการเก็บสารเคมี การมีนโยบายทางการคลังที่เอางบประมาณ 20,00-30,000 ล้านบาทที่ต้องจ่ายเพื่อเยียวยาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกลับมาสนับสนุนเกษตรเชิงนิเวศ ยุตินโยบายสนับสนุนเกษตรเชิงเดี่ยวที่นำไปสู่ความไม่เป็นธรรมดังกล่าว และเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณมหาศาลกับระบบชลประทาน ระบบการศึกษา ระบบมาตรฐานสินค้า การส่งเสริมการเกษตร การวิจัยทางการเกษตรที่อุ้มชูเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวที่ต้องพึ่งพาการใช้สารเคมี
8.5 ต้องไม่ทำผู้บริโภคอยู่ตรงกันข้ามกับเกษตรกร และต้องไม่ทำให้ขบวนการเกษตรอินทรีย์เป็นคู่ขัดแย้งกับเกษตรกรรายย่อยที่ทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว
ผมคิดว่าความสำเร็จเล็กๆน้อยของพวกเราทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศคือการสร้างระบบความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรที่ผลิตเกษตรกรรมเชิงนิเวศกับผู้บริโภคที่ต้องการอาหารและสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ขบวนการสนับสนุนการแบนสารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรงนั้น ประมาณ 1 ใน 3 เป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเชิงนิเวศ แต่ส่วนที่เหลือเป็นประชาชนกลุ่มอื่นๆที่คำนึงถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จนอาจกล่าวได้ว่าการตื่นตัวของผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปคือปัจจัยสำคัญของการเคลื่อนไหวในการแบนสารเคมีและการสนับสนุนเกษตรกรรมเชิงนิเวศ แต่จุดแข็งนี้ก็เป็นจุดอ่อนเช่นเดียวกัน ที่สร้างรอยปริร้าวระหว่างเกษตรกรรายย่อยกับเกษตรกรรายย่อยด้วยกัน และระหว่างเกษตรกรรายย่อยกับผู้บริโภค ทั้งๆที่เราในฐานประชาชนคือเหยื่อของระบบเกษตรกรรมและอาหาร ที่ต้องเผชิญหน้ากับอุตสาหกรรมอาหารยักษ์ใหญ่ที่สร้างผลกำไรจากการขายสารพิษ ผูกขาดเมล็ดพันธุ์ต้านทานสารเคมีกำจัดวัชพืช และการรับซื้อผลิตราคาถูกๆจากรัฐ
หากคิดเร็วๆ ผมคิดว่ายุทธศาสตร์ที่ประชาชนจะได้รับชัยชนะสร้างระบบเกษตรกรรมและอาหารที่เป็นธรรมคำนึงถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั้น ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปต้องไม่เพียงแค่การอุดหนุนซื้อบริการจากเกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เท่านั้น แต่คือการร่วมมือกันผลักดันให้ มีเกิดจินตภาพร่วมของสังคมขึ้นมาดังที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อที่สองเรื่องเจตจำนงทางการเมือง และหัวข้อที่สี่ คือการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เช่น ระบบภาษี งบประมาณ การศึกษาเป็นต้น
9. บทสรุป
สิ่งที่ผมกล่าวมาแล้วทั้งหม
ด ไม่ได้เป็นประสบการณ์ของผมแ
ต่ผู้เดียว แต่มาจากผลการทำงานของเครือ
ข่ายต่างๆ มาจากการแลกเปลี่ยนร่วมกันค
รั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งในการต่อสู้ทางนโยบายแล
ะปฏิบัติการที่เราทำงานร่วม
กันกับเกษตรกรในชุมชนท้องถิ
่นต่างๆ ในหลายปีมานี้ ขบวนการอธิปไตยทางอาหาร ซึ่งหมายถึงการสร้างสิทธิแล
ะอำนาจในการจัดการระบบอาหาร
ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การกระจายผลผลิต วิถีการบริโภค และนโยบายเกี่ยวกับเกษตรกรร
มและอาหารเติบโตมากขึ้น
ผมเห็นการก่อรูปของขบวนการนี้ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะในระดับพื้นที่ เช่น ในจังหวัดสงขลา พัทลุง นครปฐม ฉะเชิงเทรา สุรินทร์ ยโสธร มหาสารคาม ขอนแก่น อำนาจเจริญ เชียงใหม่ ฯลฯ เป็นต้น ที่ลุกขึ้นมาสร้างทางเลือกการผลิตเชิงนิเวศ สร้างระบบตลาดที่เกษตรกรเป็นเจ้าของ ลุกขึ้นมาบอกว่าเราไม่ต้องการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าที่ก่อมลพิษ และร่วมกันเคลื่อนไหวประกาศเขตปลอดสารพิษ เป็นต้น
ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการอย่างช้าๆแต่มั่นคงของขบวนการนี้มานานกว่า 30 ปีแล้ว และเห็นไปข้างหน้าว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่คาดคิด ด้วยปัจจัยจากปัญหาเร่งเร้าด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ผมเชื่อเช่นเดียวกับพวกเราส่วนใหญ่ที่นี่ว่า ระบบเกษตรกรรมและอาหารที่เป็นธรรม เท่าเทียม คำนึงถึงชีวิตและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริงในช่วงชีวิตของพวกเรา
ขอบคุณครับ
-
ปาฐกถา โดย วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี
เนื่องในโอกาสการเปิด
ตัว สมาคมไทยเพื่อการพัฒนาทรัพย
ากรมนุษย์ในชนบท (Thai DHRRA)
11 ธันวาคม 2562
สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน
, ราชเทวี