ความมั่นคงทางอาหารบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ15-16 ตุลาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชด้านการพึ่งพาตนเอง

  • ต้องการให้เกษตรกรต้องรักษาเมล็ดพันธุ์ด้วยตนเอง
  • ชาวนาที่ยิ่งใหญ่ได้จะต้องไม่พึ่งพิงการผลิตจากภายนอกโดยเด็ดขาด และจะต้องเป็นผู้มีข้อมูลของตัวเองให้มากที่สุด และเป็นประโยชน์กับชุมชนมากที่สุด ต้องเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง
  • มีเป้าหมายเดียวกัน ควรประคองเดินร่วมกัน สร้างเครือข่ายเข้มแข็ง ให้พึ่งพาตนเอง คิดเองเป็น

มุมมองต่อเกษตรกร

  • ทำอย่างไรถึงจะสร้างความคิด แนวคิด หรือปรับแนวคิดไม่ให้เกษตรกรเห็นว่าตนเองไม่มีฐานะในสังคม ทั้งที่ประกอบอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองได้
  • ทำอย่างไรเกษตรกรถึงจะมีความภาคภูมิใจและรู้สึกว่าตัวเองมีความมั่นคงในชีวิต
  • อยากให้เกษตรกรเปิดกว้างรับความรู้ใหม่ ไม่ตั้งอคติ แต่ก็ไม่ละทิ้งความรู้เดิม
  • การเปิดแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ได้ความหลากหลายของแนวคิด ไม่ใช่สร้างความขัดแย้ง แม้ในสังคมเล็กๆ ยังขัดแล้งได้ อย่าพูดถึงระดับประเทศ
  • เกษตรกรควรมีการรักษาพื้นนาของตนที่ได้รับ มีการปรับปรุงดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดำรงทรัพยากรไว้สืบไป
  • อย่าคิดว่าการเรียนสูงแล้วกลับไปทำนาไม่ได้ เพราะคนรุ่นเดิมปลูกฝังให้เยาวชนทิ้งถิ่นฐานของตนเอง
  • ทำอย่างไรเกษตรกรจะเห็นคุณค่าของงานเกษตรกรรมที่ตัวเองทำมาหลายชั่วอายุคน โดยการส่งต่อความรู้ และภูมิปัญญาต่างๆให้กับลูกหลานมากกว่าการที่จะผลักลูกหลานของตัวเองให้เข้าไปสู่เมืองใหญ่ เพื่อมุ่งหวังเงินเดือนที่สูงๆ ความมีหน้ามีตาและชื่อเสียงเงินทอง

การรณรงค์และสร้างความร่วมมือ

  • สำหรับเรื่องอาหาร เราควรรณรงค์ในการบริโภคอย่างจริงจัง สำหรับอาหารแต่ละอย่างดึงความปลอดภัยของตน
  • ทำอย่างไรที่จะเชื่อมองค์กรอิสระต่างๆที่ทำงานอยู่ข้างประชาชน ให้มาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และหาทางออกร่วมกันกับหน่วยงานราชการ และลดการมีอคติที่มีต่อกัน โดยการหันมาร่วมมือเชื่อมโยงในการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างแท้จริง
  • ขอให้นักวิชาการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานอิสระเพื่อชุมชน ปรึกษาทางด้านกฎหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ สิทธิของชุมชน เพื่อถ่วงดุลอำนาจรัฐและกลุ่มทุนที่ยังเหลื่อมล้ำกับเกษตรกร
  • (กลุ่มพันธุกรรม)อยากให้หน่วยงานทางกรมการข้าวเข้ามาดูในการจองพันธุ์ข้าวจากเกษตรกรที่ทำแปลงพันธุ์เพื่อจำหน่ายให้ทางกรม เพราะว่ามีพันธุ์ปนมาก
  • (จากตัวแทนภาครัฐ) เห็นด้วยกับการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิดต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่ายซึ่งกันและกันของชุมชน ซึ่งภาครัฐได้พยายามปรับเปลี่ยนจากนโยบายที่ปฏิบัติได้ยากให้เป็นนโยบายที่มาจากความคิดและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
  •  (พ่อแดง) ขอให้ภาคีภาครัฐรับรองให้ความร่วมมือพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เกษตรกรทำได้ของ จ.อุบลฯ