ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีต่อประชาคมโลกเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริม “การทำเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ และการลดการใช้สารเคมี” เป็นเพียงวาจาสวยหรูที่ว่างเปล่า หรือ เป็นพันธกิจที่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง ขึ้นอยู่กับมาตรการและกลไกในทางปฏิบัติของกระทรวงเกษตรฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

แนวโน้มการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยที่

  1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมิได้ตั้งเป้าหมายเพื่อลดตัวเลขการนำเข้าสารเคมีแต่ประการใด
  2. ไม่มีการประกาศแบนสารเคมีอันตรายร้ายแรงที่หลายประเทศห้ามใช้
  3. ไม่มีข้อเสนอเก็บภาษีกลุ่มธุรกิจที่นำเข้าสารเคมีที่มีมูลค่าการนำเข้า 22,000 ล้านบาท และมียอดขายมากกว่า 60,000 ล้านบาทต่อปี
  4. ไม่มีการควบคุมการโฆษณาและส่งเสริมการขายสารเคมีอย่างจริงจัง ทั้งๆที่ละเมิดข้อกำหนด/เกณฑ์ทางจริยธรรมขององค์การระหว่างประเทศ (FAO Code of Conduct)
  5. มีการแต่งตั้งบุคคลจากกลุ่มธุรกิจสารเคมีที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาเป็นคณะกรรมการวัตถุอันตราย
  6. ไม่ใส่ใจและไม่ให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลที่แท้จริงต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้

ฯลฯ

การพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดขึ้นได้ด้วยการกระทำ ไม่ใช่วัดจากคำกล่าวสวยหรูของผู้นำประเทศในเวทีระหว่างประเทศ

หมายเหตุ
– สถิติข้อมูลปี 2556 ขาดความสมบูรณ์
– ข้อมูลการนำเข้าระหว่างปี 2553-2555 มีความผันผวนเพราะความล่าช้าในกระบวนการขึ้นทะเบียนตามพ.ร.บ.สารเคมีกำจัดศัตรูพืชฉบับปรับปรุงแก้ไข แต่ถึงกระนั้นตัวเลขเฉลี่ยการนำเข้าสารเคมีใน 3 ปีดังกล่าวยังเฉลี่ยรวมกัน 138.8 ล้านกิโลกรัมซึ่งสูงกว่าการนำเข้าเมื่อปี 2552

ที่มา: BIOTHAI Facebook