เหตุผลการคัดค้านและข้อเสนอแนะต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้

  1. การออกข้อกำหนดให้เกษตรกรและผู้ประกอบการที่ติดฉลากผลผลิตและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ต้องมาขึ้นทะเบียนและต้องผ่านการรับรองโดยหน่วยรับรองที่รัฐ กำหนด ในขณะที่มิได้ใช้มาตรฐานบังคับแบบเดียวกันกับการทำเกษตรกรรมแบบเคมี เป็นการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ไม่รับฟังเสียงคัดค้านจากเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรรายย่อย และสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ ทั้งๆที่เกษตรกรรมอินทรีย์และระบบการรับรองมาตรฐานที่เกิดขึ้นในประเทศไทยล้วนแล้วมาจากการริเริ่มของภาคประชาชน
  2. ระบบการรับรองมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำกับดูแลโดยมกอช.เป็นระบบที่ไร้ประสิทธิภาพ และไม่สามารถสร้างหลักประกันความปลอดภัยได้จริง ดังจะเห็นได้จากผลการสุ่มตรวจผักและผลไม้ซึ่งได้รับตรา Q และ Organic Thailand มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึงมากกว่า 50% และ 20% ตามลำดับ การบังคับให้การติดฉลากอินทรีย์ต้องขึ้นทะเบียนจึงไม่ได้สร้างหลักประกันให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ปลอดภัยหรือสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่สินค้าที่ได้รับการรับรองแต่ประการใด
  3. การบังคับให้การติดฉลากผลผลิตและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งที่เป็นการรับรองแบบมีส่วนร่วม(PGS)ต้องได้รับการรับรองจากมกอช. จะเป็นการสร้างความยุ่งยาก เสียเวลา และเพิ่มต้นทุนต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการอินทรีย์
  4. การออกประกาศนี้จะเป็นการทำลายการสกัดกั้นขบวนการเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยไม่ให้เติบโต อีกทั้งผู้บริโภคก็ไม่มีหลักประกันใดๆที่จะได้รับผลผลิตที่ปลอดภัย ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์จะมีราคาที่แพงขึ้นเพราะต้นทุนการบริหารจัดการเพิ่มขึ้น
  5. ทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อสร้างหลักประกันให้ประชาชนได้รับผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยคือ
    • ควบคุมการเกษตรเคมีซึ่งเป็นการผลิตหลักมากกว่า 90% ของประเทศ อย่างเข้มงวด โดยยกเลิกสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีพิษภัยร้ายแรง เช่น ไกลโฟเสท พาราควอท ซึ่งคิดเป็นปริมาณประมาณ 60% ของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งหมดของประเทศ และคลอไพรีฟอสสารเคมีกำจัดแมลงที่นำเข้ามากที่สุด พบการตกค้างมากที่สุด และส่งผลกระทบต่อการเติบโตต่อสมองของเด็กอย่างถาวร
    • ปฏิรูประบบการรับรองมาตรฐานเกษตรและอาหารของประเทศ ซึ่งรับผิดชอบโดยมกอช. โดยเฉพาะ GAP และ Organic Thailand ให้มีเป้าหมายให้ลดสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานไม่เกิน 3% และ 0% ตามลำดับ
    • ส่งเสริมให้ระบบการรับรองของภาคประชาชนโดยเฉพาะระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) ให้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นระบบรับรองที่ต้นทุนต่ำ เกษตรกรและผู้บริโภคมีส่วนร่วม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อประชาชนในท้องถิ่น และการบริโภคในประเทศ
    • หากกระทรวงเกษตรประสงค์ที่จะเดินหน้าในการออกกฎระเบียบใดๆที่เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ต้องให้คณะกรรมการในการยกร่างหรือปรับปรุงกฎระเบียบให้มีตัวแทนจากภาคเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค มีสัดส่วนเท่าๆกันเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนมกอช.ให้เป็นผู้ทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการ

ส่งถึง มกอช. : ตอบคำชี้แจงของ มกอช. ที่มีต่อสังคม

ที่มา : https://www.facebook.com/itcacfs

มกอช.คำตอบตามความเป็นจริง
1. ร่างกระทรวงนี้ มิใช่เป็นการกำหนดให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มกษ.9000 ทั้งฉบับเป็นมาตรฐานบังคับดังที่เข้าใจกัน แต่เป็นการกำหนดให้การติด “ฉลาก” สินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อการค้าเป็นมาตรฐานบังคับถูกต้อง: เป็นการบังคับให้ติด “ฉลาก” สินค้าเกษตรอินทรีย์ไม่ถูกต้อง: ยอมรับเฉพาะสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานของกระทรวงเกษตรฯ และ IFOAM  ส่วนมาตรฐาน Codex และ ASEAN ยังไม่มีใครนำมาใช้ ดังนั้น จึงไม่มีผลในทางปฏิบัติ
2. ร่างกฎกระทรวงนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค รวมทั้งคุ้มครองเกษตรกรผู้ผลิตผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐาน ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ทั้งนี้สินค้าที่ไม่ได้ติดฉลาก หรือผลิตเพื่อบริโภคเอง หรือค้าขายในวงจำกัดในท้องถิ่นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานนี้ไม่ถูกต้อง: การสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคว่า สินค้าที่ติดฉลากเกษตรอินทรีย์ได้ผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จริง (ก็ 25% ของ Organic Thailand และกว่า 50% ของ GAP ที่พบว่า ไม่เป็นจริง)การสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภค ไม่ได้อยู่ที่การบังคับติด “ฉลาก”  ผู้บริโภครู้ว่า ที่ไม่ติดฉลาก ก็คือ ไม่ได้รับรอง ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นเกษตรอินทรีย์จริง และผู้บริโภคไทยก็ยังรู้ว่า สินค้าที่ติดฉลากเกษตรอินทรีย์ (โดยเฉพาะ Organic Thailand) ไม่น่าเชื่อถือ เพราะระบบตรวจรับรองมีปัญหา ซึ่งแก้ไม่ได้โดยการบังคับติดฉลาก
3. เหตุผลของการกำหนดมาตรฐานเรื่องนี้ เนื่องจากปัจจุบันพบว่า สินค้าที่จำหน่ายในประเทศที่ติดฉลากว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์จำนวนมาก ไม่ได้รับการรับรอง ซึ่งสินค้าที่ติดฉลากว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่วางจำหน่ายอาจมีมากกว่าครึ่งหนึ่ง ที่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์จริง และเหตุการณ์นี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหากไม่มีมาตรการกำกับดูแลที่ดีพอ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเสียความมั่นใจถูกต้อง: สินค้าที่ไม่ติดฉลาก  ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์จริงไม่ถูกต้อง: การบังคับติดฉลากก็ยังคงไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์จริง (ไปดูข้อ 2. ข้างต้น)
4. มาตรฐานการติดฉลากสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยที่กำลังยกร่างนั้น ถือว่าเป็นกฎเกณฑ์การแสดงฉลากที่ยืดหยุ่นที่สุด โดยยอมรับการรับรองทั้งตามมาตรฐานของประเทศไทย มาตรฐานสากล และเป็นหนึ่งในกี่ประเทศที่ยอมรับระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) ซึ่งกฎหมายของไทยที่กำลังยกร่างอยู่นี้ถือว่ายืดหยุ่นกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งกำหนดให้ต้องใช้เฉพาะมาตรฐานประทศเขาเท่านั้นไม่ถูกต้อง: กฎเกณฑ์ของไทยยืดหยุ่นที่สุดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ยอมรับระบบการตรวจรับรองกว่า 10 ประเทศ และที่สำคัญ คือ ในต่างประเทศ เมื่อได้รับการรับรองแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปขอขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานกลางแบบ มกอช. อีก ซึ่งเป็นการทำงานซ้ำซ้อน(เช่น ขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ Organic Thailand จากกรมการข้าว-กรมวิชาการ-กรมประมง เพราะระบบเกษตรผสมผสาน เสร็จแล้วต้องไปขอขึ้นทะเบียนกับ มกอช. อีก  แบบนี้ไม่มีใครที่ไหนในโลกที่เขาทำกัน)
5. ในส่วนของผลกระทบที่อาจมีต่อเกษตรกรและผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ผลิต ผู้ค้า ที่ปัจจุบันได้รับการรับรองมาตรฐานอยู่แล้ว แทบจะไม่ต้องมีภาระอะไรเพิ่มเติม โดยจะมีเพียงต้องมาแจ้งยืนยันการขออนุญาต ซึ่งปัจจุบันกำหนดค่าใบอนุญาตสำหรับเกษตรกรเพียง100 บาท ต่อ 3 ปี โดย มกอช. จะกำหนดวิธีการยื่นขออนุญาตให้สะดวกที่สุด เป็นภาระน้อยที่สุด ส่วนผลกระทบที่จะมีจริงๆ คงเฉพาะกับผู้ที่ปัจจุบันไม่ได้รับรองมาตรฐาน แต่มีการติดฉลากสินค้าที่ขายว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีเวลา 3-4 ปี ให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นได้ปรับตัวไม่ถูกต้อง: ค่าธรรมเนียม 100 บาท/3 ปี เป็นแค่คำกล่าวของ เจ้าหน้าที่ มกอช. บางคน (ที่กล่าวในที่ประชุม แต่ไม่ได้มีผลผูกพัน อาจเบี้ยวได้)ในระเบียบปัจจุบันของกระทรวงคือ 10,000 บาทไม่ถูกต้อง: ผลกระทบยังมีกับเรื่องของการติดฉลากทั้งหมด ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนด (เช่น Q หกเหลี่ยม, ติดใบประกาศหน้าฟาร์ม-สถานที่ผลิต) ซึ่งสร้างความยุ่งยากให้กับกลุ่มเกษตรกรมากยิ่งขึ้น
6. มกอช. มั่นใจว่าไม่ได้ทำความเสียหายให้แก่เกษตรอินทรีย์ไทย แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคและตลาดเกษตรอินทรีย์ทั้งในประเทศ และที่ส่งออกไปต่างประเทศ เป็นการคุ้มครองผู้ผลิตที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ให้ได้รับความเป็นธรรม เป็นการสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งแก่วงการเกษตรอินทรีย์ไทยไม่ถูกต้อง: ผู้บริโภคไทยไม่ได้มั่นใจกับ Organic Thailand หรือ ระบบการรับรองของราชการมากขึ้นไม่ถูกต้อง: การส่งออกไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นการกล่าวอ้างว่า จะทำให้เกิดความมั่นใจกับตลาดส่งออกต่างประเทศไม่ถูกต้อง: ผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่ผู้บริโภคให้ความเชื่อถือ ไม่จำเป็นต้องคุ้มครองโดยระบบราชการ
7. ร่างมาตรฐานดังกล่าวนี้ยังไม่ใช่ร่างสุดท้าย และอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น ซึ่ง มกอช.พร้อมที่จะนำข้อคิดเห็นที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้มาตรฐานที่กำหนดเป็นประโยชน์แก่วงการเกษตรอินทรีย์ของไทย และไม่สร้างภาระแก่ผู้เกี่ยวข้องไม่ถูกต้อง: กระบวนการรับฟังความคิดเห็นไม่โปร่งใส เที่ยงธรรมไม่ยอมรับฟังแนวทางอื่นในการแก้ปัญหาเกษตรอินทรีย์ไทย  “คิดแต่ใช้อำนาจบังคับ ไม่ได้คิดสนับสนุน”

ที่มา: ร่าง มาตรฐานสินค้าเกษตร การแสดงผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์