1. การออกข้อกำหนดให้เกษตรกรและผู้ประกอบการที่ติดฉลากผลผลิตและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ต้องมาขึ้นทะเบียนและต้องผ่านการรับรองโดยหน่วยรับรองที่รัฐ กำหนด ในขณะที่มิได้ใช้มาตรฐานบังคับแบบเดียวกันกับการทำเกษตรกรรมแบบเคมี เป็นการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ไม่รับฟังเสียงคัดค้านจากเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรรายย่อย และสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ ทั้งๆที่เกษตรกรรมอินทรีย์และระบบการรับรองมาตรฐานที่เกิดขึ้นในประเทศไทยล้วนแล้วมาจากการริเริ่มของภาคประชาชน
2. ระบบการรับรองมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำกับดูแลโดยมกอช.เป็นระบบที่ไร้ประสิทธิภาพ และไม่สามารถสร้างหลักประกันความปลอดภัยได้จริง ดังจะเห็นได้จากผลการสุ่มตรวจผักและผลไม้ซึ่งได้รับตรา Q และ Organic Thailand มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึงมากกว่า 50% และ 20% ตามลำดับ การบังคับให้การติดฉลากอินทรีย์ต้องขึ้นทะเบียนจึงไม่ได้สร้างหลักประกันให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ปลอดภัยหรือสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่สินค้าที่ได้รับการรับรองแต่ประการใด
3. การบังคับให้การติดฉลากผลผลิตและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งที่เป็นการรับรองแบบมีส่วนร่วม(PGS)ต้องได้รับการรับรองจากมกอช. จะเป็นการสร้างความยุ่งยาก เสียเวลา และเพิ่มต้นทุนต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการอินทรีย์
4. การออกประกาศนี้จะเป็นการทำลายการสกัดกั้นขบวนการเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยไม่ให้เติบโต อีกทั้งผู้บริโภคก็ไม่มีหลักประกันใดๆที่จะได้รับผลผลิตที่ปลอดภัย ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์จะมีราคาที่แพงขึ้นเพราะต้นทุนการบริหารจัดการเพิ่มขึ้น
5. ทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อสร้างหลักประกันให้ประชาชนได้รับผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยคือ การควบคุมการเกษตรเคมี ซึ่งเป็นการผลิตหลักมากกว่า 90% ของประเทศ อย่างเข้มงวด โดยยกเลิกสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีพิษภัยร้ายแรง เช่น ไกลโฟเสท พาราควอท ซึ่งมีปริมาณ 60% ของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทั้งหมดของประเทศ และคลอไพรีฟอสสารเคมีกำจัดแมลงที่นำเข้ามากที่สุด พบการตกค้างมากที่สุด และส่งผลกระทบต่อการเติบโตต่อสมองของเด็กอย่างถาวร ซึ่งหน่วยงานรัฐมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการในสาระสำคัญดังนี้

  1. ขอให้หยุดการบังคับใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์มาตรฐานเดียว
  2. ปรับบทบาทกระทรวงเกษตรและมกอช.ให้ทำหน้าที่กำกับดูแลองค์กรตรวจรับรองมาตรฐานอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. ปฏิรูประบบการรับรองมาตรฐานเกษตรและอาหารของประเทศ ที่รับผิดชอบโดย มกอช. ซึ่งได้แก่ GAP และ Organic Thailand ให้มีเป้าหมายให้ลดสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานไม่เกิน 3% และ 0% ตามลำดับ
  4. ส่งเสริมให้ระบบการรับรองของภาคประชาชนโดยเฉพาะระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) ให้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นระบบรับรองที่ต้นทุนต่ำ เกษตรกรและผู้บริโภคมีส่วนร่วม โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อประชาชนในท้องถิ่นและการบริโภคในประเทศ
  5. สนับสนุน ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน ให้ทัดเทียมเกษตรพาณิชย์
  6. ให้มีคณะกรรมการในการยกร่างหรือปรับปรุงกฎระเบียบ โดยมีตัวแทนจากภาคเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค มีสัดส่วนเท่าๆกันเป็นผู้ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงการออกกฎระเบียบใดๆ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ส่วนมกอช. ให้เป็นผู้ทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการ 
  7. กระทรวงเกษตรฯ ต้องไม่เลือกปฏิบัติในการติดฉลากเฉพาะเกษตรอินทรีย์ แต่ต้องมีการตรวจสอบและติดสลากรับรองผลิตภัณฑ์ GMO และสารเคมีเข้มข้นก่อน
  8. ในนามของเครือข่ายภาคประชาชนจึงเรียกร้องให้ มกอช. และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หยุดการบังคับใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นมาตรฐานบังคับโดยหันมาให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมตลอดจนผลประโยชน์ของประเทศเป็นการเร่งด่วน

รายชื่อองค์กรที่ร่วมลงนาม
ขอให้ทบทวนการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นมาตรฐานบังคับ
วันที่ 28  กันยายน  2559

1 กลุ่มเกษตรธรรมชาตินาปลูกบุญ  จังหวัดกาญจนบุรี
2 กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต
3 กลุ่มข้าวกล้องอินทรีย์ปทุมรัตต์ ตำบลหนองแดน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด  
4 กลุ่มเครือข่ายพลเมืองปฏิรูปภาคเกษตรกรรม จังหวัดเชียงใหม่
5 กลุ่มดอกคูณเสียงแคน
6 กลุ่มตลาดสีเขียว จังหวัดขอนแก่น
7 กลุ่มทำเป็น ทำเกษตร
8 กลุ่มพัฒนาอาชีพสตรีบ้านโจด ตำบลนาเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
9 กลุ่มวิจัยตลาดเขียว ตำบลนาทอง  จังหวัดมหาสารคาม
10 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า ตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
11 เครือข่ายเกษตกรรมทางเลือก จังหวัดร้อยเอ็ด
12 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จังหวัดขอนแก่น
13 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จังหวัดมหาสารคาม
14 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จังหวัดสุรินทร์
15 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
16 เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้
17 เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนแม่ทา ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
18 เครือข่ายเกษตรทางเลือกเมืองลุง
19 เครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม We Organic PGS
20 เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีปักษ์ใต้
21 เครือข่ายคนกินข้าวเกื้อกูลชาวนา
22 เครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน
23 เครือข่ายแม่กาดเกษตรอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่
24 เครือข่ายโรงเรียนชาวนา  จังหวัดนครสวรรค์
25 เครือข่ายวิถีเกษตรธรรมชาติ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
26 เครือข่ายสายใยออร์แกนิค
27 โครงการประมงพื้นบ้าน – สัตว์น้ำอินทรีย์
28 ชมรมโคราชออร์แกนิคเน็ตเวิร์ค
29 บริษัทสวนเงินมีมา จำกัด
30 มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
31 มูลนิธิข้าวขวัญ
32 มูลนิธิชีววิถี(BIOTHAI)
33 มูลนิธิชุมชนเกษตรนิเวศน์
34 มูลนิธิพัฒนาอีสาน
35 กลุ่มส่งเสริมเกษตรกรอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
36 ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ
37 ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรอินทรีย์  จังหวัดหนองบัวลำภู
38 สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC)
39 สภาองค์กรชุมชนตำบลเพ็กใหญ่
40 สมาคมเกษตรกรรมธรรมชาติ จังหวัดสระบุรี
41 สมาคมประมงรักษ์ทะเลสาบ  อำเภอปากพะยูน
42 สมาคมสตรีประมงพื้นบ้านภาคใต้
43 สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์สุรินทร์
44 สหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา  จำกัด
45 สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาไทยเจริญ  จังหวัดยโสธร