เรื่อง ขอสนับสนุนให้คงมติห้ามการทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมในระดับไร่นา

เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

ตามที่ผลการประชุมของคณะกรรมการกลั่นกรองเพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี  ซึ่งมีนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาข้อเสนอของนายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ที่ผลักดันให้มีการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในระดับไร่นา โดยได้เตรียมการนำเสนอเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว เพื่อให้คณะรัฐมนตรีตัดสินใจ ๒ แนวทางคือ  ข้อเสนอแรก ให้คงมติห้ามการทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมในระดับไร่นาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๔ และให้มีการเร่งพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพโดยเร็ว  และข้อเสนอที่สอง อนุญาตให้มีการทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมในศูนย์วิจัยหรือสถานีทดลองของราชการได้ โดยเพียงแต่ให้ออกกฎระเบียบที่เคร่งครัดกำกับ

กลุ่มนักวิชาการจากหลายสาขาและหลายสถาบัน ขอสนับสนุนให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้ข้อเสนอแรกคือ การคงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๔ ซึ่งห้ามมิให้มีการทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมในระดับไร่นา (field trial) ทั้งในสถานีทดลองของราชการและไร่นาเกษตรกร และสนับสนุนให้มีร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพที่เปิดโอกาสให้เกษตรกร ผู้บริโภค องค์กรภาคประชาสังคม และนักวิชาการได้มีส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อสร้างกติกาของสังคมขึ้นมาก่อน ก่อนหน้าที่จะอนุมัติให้มีการทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมในระดับไร่นาเป็นกรณีๆ ไป

การอนุญาตให้มีการทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมในแปลงทดลองเปิดไม่ว่าจะเป็นในสถานีทดลองของราชการและในไร่นาของเกษตรกร มีปัญหาที่ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

  1. ปัญหาการปนเปื้อนทางพันธุกรรม การปลูกทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมในสภาพแปลงทดลองเปิดอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมได้ในหลายกรณี เช่น  การผสมข้ามที่เกิดขึ้นจากการปลิวของละอองเกสรไปผสมพันธุ์กับพืชทั่วไปที่เป็นชนิดเดียวกัน โดยเกิดขึ้นจากลม แมลง หรือสัตว์อื่นเป็นพาหะ หรืออาจเกิดขึ้นจากมนุษย์เพราะความประมาทเลินเล่อ และการจงใจทำให้เกิดการปนเปื้อนด้วยเหตุผลบางประการ  การอาศัยระเบียบของทางราชการอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอต่อการป้องกันมิให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมได้
  2. ปัญหาการละเมิดสิทธิ พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ทดลองในประเทศไทยทั้งหมดเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิทธิในหลายลักษณะ เช่น สิทธิบัตรในยีนหรือกระบวนการวิจัยเป็นของบริษัทต่างชาติ การปนเปื้อนทางพันธุกรรมอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรโดยเกษตรกรอาจกลายเป็นผู้ละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท  ซึ่งปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายเพื่อรองรับหรือป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
  3. ปัญหาทางการค้า การปนเปื้อนทางพันธุกรรมจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมอินทรีย์ของประเทศไทยซึ่งมีมูลค่านับพันล้านบาท และอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรทั่วไปซึ่งมีมูลค่านับแสนล้านบาทต่อปีได้ หากไม่มีการจัดการ การป้องกันผลกระทบ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึก ตลอดจนการมีมาตรการและกฎหมายต่างๆ อย่างเพียงพอ

กล่าวโดยสรุป การอนุญาตให้มีการปลูกทดลองพืชดัดแปลงพันธุกรรมในสถานีทดลองหรือศูนย์วิจัย ซึ่งอ้างว่ามีกฎระเบียบที่เคร่งครัดควบคุม ได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ ไม่เพียงพอต่อการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น  อาจทำให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวางต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางอาหาร การค้า/ส่งออก ตลอดจนสิทธิของเกษตรกร ผู้บริโภค และอธิปไตยของประเทศเหนือทรัพยากรชีวภาพ เป็นต้น

กลุ่มนักวิชาการจากสาขาวิทยาศาสตร์ การเกษตร เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา วิศวกรรมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์  ฯลฯ จากหลายมหาวิทยาลัย รวมทั้งอดีตข้าราชการอาวุโส ตามรายชื่อท้ายจดหมายฉบับนี้  เห็นว่ารัฐบาลของ ฯพณฯ เป็นรัฐบาลชั่วคราว จึงไม่ควรเร่งตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญต่ออนาคตของประชาชนและประเทศชาติ อีกทั้งมิได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างเพียงพอ จึงขอให้คงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๔ ไว้ต่อไป และให้รัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้ทำหน้าที่ในการตัดสินใจโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง

จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

  1. ศ.ระพี สาคริก อดีตอธิการบดี ม.เกษตรศาสตร์
  2. ศ.ดร.จรัญ จันทลักขณา อดีตรองอธิการบดี ม.เกษตรศาสตร์
  3. รศ.ดร.รังสฤษดิ์ กาวิต๊ะ หัวหน้าภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์
  4. รศ.ดร. ลิลลี่ กาวิต๊ะ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
  5. ผศ.ดร. ทิพวัลย์ สีจันทร์ คณะเกษตรกำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์
  6. ดร.วิเชียร กีรตินิจกานต์ ศูนย์ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช ม.เกษตรศาสตร์
  7. รศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์  ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์
  8. ศ.ดร. สายัณห์ ทัดศรี คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์
  9. รศ.ดร.สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล คณะเศรษฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  10. รศ.ดร.เริงชัย ตันสกุล คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  11. ดร.ศักดิ์ชัย คีรีพัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  12. ผศ. กัลยาณี พรพิเนตพงษ์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  13. ผศ.ดร. สมบูรณ์ พรพิเนตพงษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  14. ทพ.ญ. ฉลอง เอื้องสุวรรณ  คณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  15.  รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  16. ผศ.ภญ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  17. ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์  คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  18. รศ.ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ  คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  19. ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  20. ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  21. รศ.ดร.สุพัตรา ชาติบัญชาชัย คณะเภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น
  22. ดร.อุทัย ดุลยเกษม คณะศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
  23. ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล คณะนิติศาสตร์ ม.หอการค้าไทย
  24. ดร.พรใจ ลี่ทองอินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย ม.เกริก
  25. ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ  คณะวิทยาศาสตร์ ม. มหิดล
  26. ผศ.ดร.วิชิต เปานิล คณะเภสัชศาสตร์ ม. มหิดล
  27. ดร.ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง กลุ่มศึกษาเรื่องเมือง สถาบันวิจัยสังคม ม.เชียงใหม่
  28. รศ.ดร.ประศักดิ์ ถาวรยุติการต์ ประธานเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ม.เชียงใหม่
  29. รศ.ดร.กษิดิษฐ์ อื้อเชี่ยวชาญกิจ  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  30. รศ.ดร. สุทธิชัย สมสุข คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  31. รศ.ดร. บุญหงส์ จงคิด คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  32. รศ.ดร. ชัยณรงค์ อิงคากุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  33. ผศ.ดร. ชนันท์ ผลประไพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  34. รศ.ดร. กิตติ อมรรักษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  35. รศ.ดร. วิริติ เกรียงยะกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  36. รศ.ดร. บัณฑิต อนุรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  37. รศ.ดร. สมชาย วิริยะยุทธกร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  38. รศ.ดร.ณรงค์ศักดิ์  ชัยชิต  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  39. ผศ.ดร.สำเนียง  ณ.ตะกั่วทุ่ง  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  40. ผศ.ดร.ดรุณี ศรีชนะ  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  41. ผศ.ดร.นิพารัตน์ ศรีธเรศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  42. รศ. มนู เฟื่องฟุ้ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  43. ผศ.ดร ประภาศรี เทพรักษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  44. รศ.ดร โดม สิทธิเวทย์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  45. ผศ.ดร สุกฤษ ตันตราวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ม.ธรรมศาสตร์
  46. ผศ.สุเพชร จิรขจรกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  47. ผศ.ดร เสรี พุฒพัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  48. ผศ.ดร  อรุณ ลาวัณย์ประเสริฐ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  49. ผศ.ประวิทย์ เรืองไรรัตนโรจน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  50. ผศ.โรจน์ คุณเอนก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ม.ธรรมศาสตร์
  51. ผศ.ดร. วรางคณา สมพงษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  52. ผศ.ดร. สมโภช  พจน์พิมล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  53. รศ.ดร.นฤมล  พิณเนียม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  54. รศ.ดร. ทองดี  เล็กโสภี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  55. รศ.ดร. สุนทรี  วราอุบล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  56. รศ.ดร. กุศล  ประกอบวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  57. รศ. ธัญณพิสิษฐ์ พวงจิก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  58. รศ. มนู เฟื่องฟุ้ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  59. ผศ.ดร. ประภาศรี เทพรักษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  60. รศ.ดร. เจียรนัย เล็กอุทัย  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์
  61. อ.ปราโมทย์ ไทยทัตกุล อาจารย์พิเศษ ม.ธรรมศาสตร์
  62. รศ.ดร สมดี หงส์ไพศาลวิวัฒน์ คณะพาณิชยศาสตร์ฯ ม.ธรรมศาสตร์
  63. ผศ.ดร. เกษร สำเภาทอง คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  64. รศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  65. รศ. สุรัสวดี หุ่นพยนต์ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์
  66. ดร.นภาภร อติวานิชพงศ์ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์
  67. รศ.ดร.นฤมล นิราทร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  68. ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์
  69. รศ.ดร.ปัทมาวดี  โพชนุกูล ซูซูกิ คณะเศรษฐศาสตร์  ม.ธรรมศาสตร์
  70. รศ.ดร. ชยันต์ ตันติวัสดาการ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  71. ผศ. รัจนา  ชินพิทักษ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.รามคำแหง
  72. รศ.ดร.บำเพ็ญ เขียวหวาน สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
  73. อาจารย์ปราโมทย์ ขลิบเงิน รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  74. รศ.ดร. ดนุวัต เพ็งอ้น คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  75. รศ.ดร. อาณัติ ตันโช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  76. อาจารย์รุ่งโรจน์ มณี คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  77. นายธวัช สุวุฒิกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ
  78. นายชนวน รัตนวราหะ อดีตผู้ตรวจราชการ และรองอธิบดี กรมวิชาการเกษตร
  79. นางวรรณี รัตนวราหะ อดีตรองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์
  80. นายวีรวัฒน์ ธีระประสาธน์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  81. ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  82. นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  83. รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
  84. ภญ.สุวรรณา จารุนุช ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จ. ชลบุรี
  85. ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.อุบลราชธานี
  86. ภก.จริระ วิภาสวงศ์ สำนักงานสาธารณสุข จ.ลำพูน
  87. ภก.ภาณุโชติ ทองยัง สำนักงานสาธารณสุข จ.สุมุทรสงคราม
  88. ภญ.ยุพาวรรณ มันกระโทก โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา
  89. นพ.บัญชา พงษ์พานิช นักวิชาการอิสระ นครศรีธรรมราช
  90. น.ส. จงกล ดวงศรี  ผู้ประสานงานชุมชนนิเวศน์ประเทศไทย – Global Ecovillage Network
  91. นางกนกวรรณ อุโฆษกิจ นายกสมาคมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ
  92. น.ส.ภักดีกุล รัตนา นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมุนสเตอร์ ประเทศเยอรมนี
  93. ดร. สุนันทา เศรษฐ์บุญสร้าง นักวิจัยเรื่องความยากจน