แม้โครงสร้างการผลิตสุกรในประเทศไทยจะมีบริษัทขนาดใหญ่ 10 บริษัทครอบครองส่วนแบ่งการเลี้ยงสุกรมากถึง 60% แต่จำนวนเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสุกรตั้งแต่ 1-50 ตัวนั้นมีมากถึง 180,000 ครัวเรือน

ผลกระทบของการเข้าร่วม CPTPP ที่ต้นทุนการเลี้ยงสุกรของแคนาดาซึ่งเป็นผู้ส่งออกสุกรอันดับ 3 ของโลก อยู่ที่ 39 บาท/ก.ก. ในขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ของไทยอยู่ที่ 64 บาท/ก.ก. นั้น             จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย โดยคาดว่าประเทศไทยต้องลดภาษีนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากแคนาดาเหลือ 0% ภายในปี 2026 เช่นเดียวกับเวียดนาม ซึ่งการนำเข้าดังกล่าวจะส่งผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อเกษตรกรรายย่อย

1) ผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรรายย่อย 180,000 ครัวเรือน ดังที่ได้กล่าวแล้ว

2) ผลกระทบต่อเนื่องต่อเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกพืชซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวนา และชาวไร่ข้าวโพด ซึ่งปัจจุบันมีการใช้ปลายข้าว 1.6 ล้านตัน และข้าวโพด 1.4 ล้านตันสำหรับผลิตอาหารสุกร และยังจะส่งผลกระทบต่อชาวไร่มันสำปะหลังด้วยเนื่องจากมันสำปะหลังสามารถนำมาใช้เป็นสูตรอาหารสุกรในระยะสุกรรุ่น-สุกรขุนได้ถึง 20-30% หรือมากถึง 50-60%  ในสุกรพ่อแม่พันธุ์

ผู้เลี้ยงสุกรรายใหญ่มีหนทางในการจัดการ เพื่อลดต้นทุนเพื่อแข่งขันได้ ทั้งการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ราคาถูก การใช้เชนค้าปลีกค้าส่งของตนในการกระจายเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ หรือรวมทั้งการเข้าไปลงทุนในประเทศคู่แข่งโดยตรง เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์และพันธมิตร Itochu ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เข้าไปซื้อกิจการบริษัท HyLife บริษัทผลิตสุกรอันดับ 2 ของแคนาดา มีโรงงานทั้งในแคนาดาและเม็กซิโกซึ่งเป็นประเทศสมาชิก CPTPP เป็นต้น

การเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายย่อยเป็นส่วนหนึ่งของการมีหลักประกันความมั่นคงทางอาหาร

ความอยู่รอดของพวกเขาเชื่อมโยงกับความอยู่รอดของเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกพืชอีกหลายล้านครัวเรือนด้วย

ที่มา: BIOTHAI Facebook