สหรัฐกลับเข้ามาร่วมการเจรจาเรื่องโลกร้อนอย่างเต็มตัวในยุคประธานาธิบดี บารัก โอบามา ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีอำนาจทางการเมืองสูงและ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับต้นของโลก บทบาทของสหรัฐในการเจรจาจึงเป็นเงื่อนไขและปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่ออนาคต ของความตกลงระหว่างประเทศเรื่องโลกร้อนฉบับใหม่ที่กำลังเจรจากันอย่างเข้ม ข้นในขณะนี้ที่กรุงเทพฯ การทำความเข้าใจแนวคิดบทบาทของสหรัฐในการเจรจาและดำเนินงานเรื่องโลกร้อน ต้องมองย้อนไปทบทวนจุดยืนของสหรัฐเรื่องโลกร้อนที่ผ่านมาใน 4 รัฐบาล จนถึงรัฐบาลโอบามา

ช่วงรัฐบาลบุช

ในตอนหาเสียงเลือกตั้ง บุชให้ความสนใจต่อปัญหาโลกร้อน กล่าวหาเสียงกับผู้เลือกตั้งว่าหากได้เป็นประธานาธิบดี จะทำเรื่อง “White House Effect” เพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อน เมื่อเป็นประธานาธิบดี รัฐมนตรีต่างประเทศในสมัยบุชเสนอให้สหรัฐใช้นโยบายแบบ “No Regrets” ใน การรับมือกับปัญหาโลกร้อน เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนของความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้นควรลดปัญหาผลกระทบจากเรื่องโลกร้อนโดยมุ่งให้เกิดผลประโยชน์ในด้าน อื่นๆ ที่ชัดเจนกว่า เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อลดมลพิษและช่วยลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกไปพร้อมกัน

ในช่วงการประชุมเจรจาจัดทำความตกลงอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) รัฐบาลบุชต่อต้านการบังคับการลดก๊าซแบบมีเป้าหมาย และประสบผลสำเร็จในการผลักดันให้ UNFCCC มีข้อกำหนดเพียงการลดก๊าซแบบสมัครใจ

รัฐบาลคลินตัน

ในยุครัฐบาลคลินตัน มีข้อเสนอแรกในปี 1993 เพื่อ การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้ภาษีด้านพลังงาน แต่ถูกต่อต้านจากวุฒิสภาที่เป็นตัวแทนจากมลรัฐที่ผลิตพลังงานจนข้อเสนอตกไป

ในเดือนธ.ค. 1995 มีการเผยแพร่รายงานของ IPCC ฉบับที่ 2 ซึ่ง ได้ข้อมูลหลักฐานสรุปว่า กิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ รายงานนี้กระตุ้นให้สหรัฐยอมรับแนวคิดเองการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซ เรือนกระจก โดยยอมรับว่ามาตรการลดก๊าซแบบสมัครใจไม่เหมาะสมต่อการแก้ปัญหา

การเลือกตั้งในปี 1994 พรรครีพับลิกันได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา มีจุดยืนชัดเจนต่อต้านการออกกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม ลดงบประมาณและอำนาจหน้าที่ของ EPA และพยายามลดความเข้มงวดของกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังต่อต้านการกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานใหม่

รัฐสภาเข้ามาเกี่ยวข้องกับนโยบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยตรง จากการที่ผ่านมติ Byrd-Hagel Resolution อย่างเป็นเอกฉันท์ (95 ต่อ 0) ในเดือนก.ค. 1997 ห้าม มิให้รัฐบาลสหรัฐไปลงนามพิธีสารเกียวโตหากไม่มีข้อกำหนดให้ประเทศกำลังพัฒนา ร่วมลดก๊าซด้วย หรือก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างรุนแรง

จากมติของวุฒิสภาในเดือนต.ค. 1997 รัฐบาลคลินตันได้ประกาศจุดยืนต่อการเจรจาที่เกียวโตที่จะมีขึ้นในเดือนธ.ค. 1997 ว่าสหรัฐจะไม่ยอมรับพันธกรณีลดก๊าซแบบบังคับ นอกเสียจากว่าประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญ (Key Developing Countries) จะ มีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการลดก๊าซด้วย อย่างไรก็ตาม จากการล็อบบี้อย่างหนักของกลุ่มสิ่งแวดล้อม และการเข้ามาแทรกแซงของรองประธานาธิบดี อัล กอร์ ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐ ในที่สุดรัฐบาลคลินตันยอมรับเป้าหมายลด 7% ภายในปี 2012 แต่การให้สัตยาบันเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไม่ประสบผลสำเร็จที่จะทำให้พิธีสารเกียวโตเป็นไปตามเงื่อนไขของมติวุฒิสภา

รัฐ บาลคลินตันได้ประกาศว่าจะไม่เสนอพิธีสารเกียวโตให้วุฒิสภาพิจารณา ให้สัตยาบันจนกว่าจะทำให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมอย่างมีความหมายได้ ในขณะที่สมาชิกรัฐสภาฝ่ายรีพับลิกันพยายามหลายแนวทางในช่วงปี 1997-1998 เพื่อ ให้มั่นใจว่าจะไม่มีการให้สัตยาบันพิธีสาร และรัฐบาลจะไม่ดำเนินการใดๆ เพื่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดในพิธีสาร เช่น การตัดงบประมาณสำหรับแผนงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ท้ายที่สุดในช่วงรัฐบาลคลินตันไม่ได้มีการเสนอเรื่องการให้สัตยาบันพิธีสาร เกียวโตในวุฒิสภาพิจารณา

รัฐบาลบุช (ลูก)

ประธานาธิบดี บุช ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2001 ไม่ เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกพิธีสารเกียวโต แต่สหรัฐก็ได้ดำเนินนโยบายภายในประเทศเพื่อการจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหลายด้าน เนื่องจากถูกแรงกดดันจากประชาคมระหว่างประเทศ และแรงกดดันจากกลุ่มสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าของการดำเนินงานเรื่องโลกร้อนในระดับมลรัฐ เช่น 2 ใน 3 ของมลรัฐทั้งหมด ได้จัดทำมาตรฐานด้านพลังงานสำหรับที่พักอาศัย การพาณิชย์ อาคารสาธารณะ

รัฐบาลโอบามา

ใน ยุคโอบามา ได้เปลี่ยนวาทกรรมของนโยบายเรื่องโลกร้อนจากสิ่งที่เป็นภัยคุกคามต่อ เศรษฐกิจ มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐ รัฐบาลโอบามาอธิบายว่า การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานทดแทนจะเพิ่มการจ้างงาน และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของสหรัฐในระยะยาว การลดก๊าซเรือนกระจกได้ถูกเปลี่ยนจากเป้าหมายเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุวัตถุ ประสงค์ของนโยบายเรื่องอื่นๆ

ในวันแรกของการเข้ารับตำแหน่ง โอบามาได้ออกคำสั่ง 2 ฉบับ ที่สวนทางกับรัฐบาลบุช คือ อนุมัติให้มลรัฐแคลิฟอร์เนียกำหนดมาตรฐานด้านเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ที่เข้มงวดขึ้นภายใต้กฎหมาย Clean Air Act และให้ EPA ดำเนินการเตรียมแผนเพื่อการควบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในฐานะที่เป็นมลพิษ ทั้งนี้เป็นไปตามที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในปี 2007 นอกจากนี้ยังได้การผลักดันกฎหมายด้านโลกร้อน คือ American Clean Energy and Security Act (ACES) ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบในขั้นสภาผู้แทนไปแล้วเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา

จะ เห็นได้ว่า ความพยายามดำเนินงานเรื่องโลกร้อนของสหรัฐมีมาโดยตลอดในทุกรัฐบาล แตกต่างกันไปขึ้นกับเงื่อนไขปัจจัยทางการเมืองในประเทศเป็นหลัก ในยุคโอบามามีความเปลี่ยนแปลงไปสู่ทิศทางที่ก้าวหน้ามากขึ้น แต่กรณีกฎหมาย ACES อาจเป็นเงื่อนไขที่ซ้ำรอยกับ Byrd-Hagel Resolution ที่เกิดขึ้นในสมัยคลินตัน ทำให้ฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถเจรจาความตกลงระหว่างประเทศให้ตอบสนองเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดยฝ่ายนิติบัญญัติได้