ด่วน..ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบพาราควอตตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยพบพาราควอตปนเปื้อนในกบหนอง ปูนา หอยกาบน้ำจืด และปลากะมัง มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัยสำหรับอาหาร “ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายผู้บริโภคได้”

งานวิจัยนี้ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังสารกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่เกษตรกรรม อ.เวียงสา จ.น่าน โดยศึกษาสารกำจัดวัชพืชทั้งไกลโฟเซต พาราควอต และอะทราซีน โดยพบว่า

ในกบหนอง มีสารกำจัดวัชพืชสะสมในตัว พบว่าตับมีขนาดใหญ่ขึ้น น้ำหนักตัวลดลง และมีการตอบสนองทงภูมิคุ้มกันต่ำลง

ในปูนาในพื้นที่นาข้าว พบว่ามีสารกำจัดวัชพืชทั้งสามชนิดสะสมในตัว ปูมีน้ำหนักลดลง มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะสันฐาน

หอยกาบน้ำจืดในหนองน้ำใกล้พื้นที่นา มีสารกำจัดวัชพืชสะสมในตัว น้ำหนักตัวลดลง และมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์และการเจริญ

ส่วนในปลากะมังในแม่น้ำน่าน พบว่ามีสารกำจัดวัชพืชสะสมในตัว มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของตับและไต และมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์

งานนี้เผยแพร่เนื่องในโอกาสครบหนึ่งร้อยปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ” Chula Expo 2017 – จุฬาฯร้อยปี นวัตกรรม คิดทำเพื่อสังคม”

นี่เป็นงานวิจัยสำคัญของมหาวิทยาลัยเก่าแก่ ที่ตอกย้ำปัญหาผลกระทบของพาราควอตจากพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และกำลังส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค หลังจากก่อนหน้านี้ มีการเผยแพร่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบการตกค้างของพาราควอตในดิน น้ำ และแม้แต่ในทารกแรกเกิด

ที่มา